Page 489 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 489

L38


                           ผลการใช้สุคนธบำบัดด้วยแผ่นแปะน้ำมันหอมระเหยดอกปีบในผู้ป่วยโรคหืด

                                    โรงพยาบาลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

                                                              นางสาวณปภัช คูณวัตร และนางอิงอร ลิ้มวัฒนาถาวรกุล
                                                              โรงพยาบาลบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เขตสุขภาพที่ 6
                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์


                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                         โรคหืด (Asthma) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดเกร็งตัวผิดปกติ
                  มีการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวมและมีเสมหะอุดในหลอดลม จากรายงานสถิติสาธารณสุขไทย

                  5 ปี ย้อนหลัง พ.ศ. 2558-2562 พบอัตราป่วยและอัตราตายจากโรคหืดเพิ่มขึ้นในทุกปี โดยพบอัตราการตาย
                  ส่วนใหญ่ในเพศชาย
                         โรงพยาบาลบางปะกง มีผู้ป่วยที่รักษาในคลินิกโรคหืด จำนวน 245 คน โดยสาเหตุที่ผู้ป่วย Re-visit
                  ภายใน 48 ชั่วโมงด้วย Acute Exacerbation และRe-admission ภายใน 28 วัน ได้แก่ ผู้ป่วยมีการกำจัด

                  อาการหอบกำเริบไม่ถูกต้อง(86.67%) ผู้ป่วยบางคนไม่มีอาการแต่ใช้ยาพ่นฉุกเฉินเพื่อกันอาการหอบเหนื่อย
                  (83.33%) และ ผู้ป่วยใช้ยาพ่นฉุกเฉินไม่ถูกต้อง(76.67%) ตามลำดับ
                         จากการศึกษาพบว่าน้ำมันหอมระเหยปีบ (Millingtonia hortensia Linn.) มีสารสำคัญ คือ
                  Hispidulin มีฤทธิ์ขยายหลอดลม ต้านการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ

                  หลอดลม ต้านแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ รักษาโรคหืด ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการศึกษาเรื่องผลการใช้สุคนธบำบัด
                  ด้วยแผ่นแปะน้ำมันหอมระเหยดอกปีบในผู้ป่วยโรคหืด โดยออกแบบผลิตภัณฑ์แผ่นแปะน้ำมันหอมระเหย
                  ดอกปีบในผู้ป่วยโรคหืดเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อศึกษาผลการใช้สุคนธบำบัดด้วยแผ่นแปะน้ำมันหอมระเหยดอกปีบในผู้ป่วยโรคหืด โรงพยาบาล

                  บางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

                  วิธีการศึกษา
                            เป็นการศึกษาการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) เพื่อศึกษาผลการใช้
                  สุคนธบำบัดด้วยแผ่นแปะน้ำมันหอมระเหยดอกปีบในผู้ป่วยโรคหืดที่โรงพยาบาลบางปะกง อำเภอบางปะกง
                  จังหวัดฉะเชิงเทรา ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนตุลาคม 2566 ประชากร คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย

                  ว่าเป็นโรคหืด ด้วยรหัส ICD-10 J459 เป็นโรคหลักในเวชระเบียนที่ขึ้นทะเบียนในคลินิกโรคหืดโรงพยาบาลบางปะกง
                  อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565 จำนวน 245 คน
                  ผู้ป่วยกลุ่มที่ยังควบคุมอาการได้ไม่ดี จำนวน 71 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกลุ่มที่ยังควบคุมอาการได้ไม่ดี โดย
                  เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)  จำนวน 30 คน

                         กรอบแนวคิดการวิจัย
                         ตัวแปรอิสระ                                                                        ตัวแปรตาม

                    1) การใช้สุคนธบำบัดด้วยแผ่นแปะน้ำมัน                 1) อัตราการเกิด Acute Exacerbation


                    หอมระเหยดอกปีบในผู้ป่วยโรคหืด                        2) อัตราการใช้ยาพ่นฉุกเฉิน
                                                                                   3) ระดับความพึงพอใจ
   484   485   486   487   488   489   490   491   492   493   494