Page 482 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 482
L31
กลุ่มที่รับประทาน ยาสมุนไพรบำรุงน้ำนม (สูตรตามบัญชียาหลักฯ) ดีขึ้นร้อยละ 63.89 และ กลุ่มที่ได้รับการประคบ
สมุนไพร ดีขึ้นร้อยละ 56.25 ตามลำดับ โดยไม่พบอาการข้างเคียงใดๆจากการรักษา
อภิปรายผล
จากผลการศึกษา พบว่า การประคบสมุนไพร(ลูกประคบสูตรตามบัญชียาหลักฯ)และการรับประทานยา
สมุนไพรบำรุงน้ำนม(สูตรตามบัญชียาหลักฯ)สามารถใช้รักษาอาการน้ำนมไม่ไหลได้ ทั้งในกลุ่มมารดาหลังคลอด
ที่น้ำนมไม่ไหลและน้ำนมไหลน้อย โดยการรับประทานยาสมุนไพรบำรุงน้ำนม จะให้ประสิทธิผลดีกว่า
การประคบสมุนไพร และจะยิ่งมีประสิทธิภาพดีมากขึ้น เมื่อให้การรักษาทั้ง 2 วิธีร่วมกัน ทำการประเมินโดย
ใช้แบบบันทึกระดับการไหลของน้ำนม สอดคล้องกับจากงานวิจัยของกุลชาติ แซ่จึง และคณะ ที่ได้ศึกษา
ประสิทธิผลของชาชงสมุนไพรบำรุงน้ำนมสูตร รพ.วังน้ำเย็น(สูตรตามบัญชียาหลักฯ)พบว่าสามารถใช้ในมารดา
หลังคลอดได้อย่างปลอดภัย มีผลในการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณเต้านม มีฤทธิ์ในการลด
ความเครียด และลดความเจ็บปวดหลังคลอดเพราะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบของสมุนไพร เนื่องจากในสูตรตำรับ
ประกอบด้วยสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ มะตูม ฝาง ขิง ชะเอมเทศและเถาวัลย์เปรียง ซึ่งเมื่อแยกสรรพคุณ
ตามรสของยา พบว่า มะตูม ขิง ชะเอมเทศช่วยลดอาการอ่อนเพลีย, ฝาง ช่วยบำรุงเลือดจากการเสียเลือด,
เถาวัลย์เปรียง ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ, ขิง มะตูมช่วยเรื่องการไหลเลือดและน้ำนมทำให้น้ำนมไหลมากขึ้น,
ขิง ช่วยลดอาการวิงเวียน ท้องอืดได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการนวดเต้านมและการประคบสมุนไพร สามารถทำให้
เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตเพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนม
จากผลการศึกษาของชุติมาพร ไตรนภากุล และคณะพบว่าระดับคะแนนการไหลของน้ำนมหลังการนวด
และประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรมีคะแนนมากกว่าในกลุ่มที่ได้รับการนวดและประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน
สรุปและข้อเสนอแนะ
สรุปผล
ผลการศึกษา พบว่า ศาสตร์การแพทย์แผนไทยทั้งการประคบสมุนไพร (ลูกประคบสูตรตามบัญชี
ยาหลักฯ) และการรับประทานยาสมุนไพรบำรุงน้ำนม (สูตรตามบัญชียาหลักฯ)สามารถใช้รักษาอาการน้ำนม
ไม่ไหลได้ ทั้งในกลุ่มมารดาหลังคลอดที่น้ำนมไม่ไหลและน้ำนมไหลน้อยได้ โดยการรับประทานยาสมุนไพรบำรุง
น้ำนม จะให้ประสิทธิผลดีกว่าการประคบสมุนไพร และจะยิ่งมีผลดีมากขึ้น เมื่อใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน
ข้อเสนอแนะ
1. ในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาโดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น และใช้เวลาในการศึกษาที่นานกว่านี้
เพื่อให้ได้ผลการวิจัยมีความถูกต้องมากกว่านี้
2. ในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาถึงปริมาณ และคุณภาพของน้ำนมแม่ที่ไหลออกมาด้วย เพื่อให้ผล
ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น