Page 487 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 487
L36
วิธีการศึกษา ข้อมูลหรือสถิติที่ใช้ : การวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS
ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล คุณภาพการนอนหลับ โดยการ
แจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Paired-Sample t-test โดย
กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p<0.05
ผลการศึกษา :
อภิปรายผล
การวิจัยเรื่องการศึกษาคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับต่อการใช้ยาสมุนไพรศุข
ไสยาสน์ ณ คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลสัตหีบ กม.10 ในครั้งนี้ ผู้วิจัยอภิปรายผลการวิจัยตาม
วัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 คน มีคุณภาพการนอนหลับหลัง
รับประทานตำรับยาศุขไสยาศน์ดีขึ้นคิดเป็นร้อยละ 87.50 และมีคะแนนคุณภาพการนอนหลับเฉลี่ย
เปรียบเทียบก่อนและหลังรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 13.80
± 3.204 คะแนน เป็น 3.30 ± 3.200 คะแนนตามลำดับ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าตำรับยาสมุนไพร
ศุขไสยาศน์ สามารถทำให้กลุ่มตัวอย่างมีการนอนหลับที่ดีขึ้น ทั้งนี้อาจจะเป็นผลมาจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ
สารสำคัญของสมุนไพรในตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ ที่มีกัญชาเป็นส่วนผสมหลักซึ่งกัญชามีสาร
Tetrahydrocannabinol (THC) ที่หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยลดอาการปวด ลดอาการเกร็งของ
กล้ามเนื้อ ช่วยทำให้ผ่อนคลาย หลับง่าย กระตุ้นความอยากอาหาร อีกทั้งยังมีสมุนไพรไทยอีกหลายชนิดที่ผสม
อยู่ในตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ ได้แก่ ดีปลี สะเดา ลูกจันทน์ และขิงแห้ง ที่มีรสร้อนจึงมีสรรพคุณกระตุ้น
การไหลเวียนโลหิต กระตุ้นลมปลายประสาท ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบประสาททำงานดีขึ้น
ทั้งนี้นัยสำคัญทางสถิติแสดงให้เห็นว่าการรับประทานตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ ในปริมาณ 500 มิลลิกรัม
วันละ 1 ครั้งติดต่อกัน 4 สัปดาห์มีผลต่อการนอนหลับได้ดีขึ้น
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 1 คนเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรง (Non Serious ADR)
จากการใช้ตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ คิดเป็นร้อยละ 2.50 อาการไม่พึงประสงค์ที่พบ ได้แก่ อาการแสบร้อน
กลางอก ทั้งนี้อาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากในตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ มีส่วนประกอบ