Page 493 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 493
L42
ผลการศึกษา
ผู้ป่วย Multiple myeloma and malignant plasma cell neoplasms เพศหญิง อายุ 58 ปี อยู่ใน
แผนการรักษา Palliative care มีปัญหาปวด อ่อนล้า และกลืนลําบาก ใส่ท่อสายยางผ่านระหว่างรูจมูกลงไปยัง
กระเพาะอาหาร (On NG tube) / เจาะคอ (tracheostomy) มีประวัติแพ้ยา Amoxicillin มีบุตรสาวเป็น
ผู้ดูแล อาการมีก้อนพุพอง ก้อนปวดแสบร้อนตามผิวหนัง ลามไปไปทั่วร่างกาย ตรงบริเวณก้อนจะปวดแสบ
ปวดร้อน ถ้าคลำไปที่ก้อนจะรู้สึกร้อน ผู้ป่วยมีอาการมานานนับปี ได้รับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานแต่อาการ
ปวดและแสบร้อนบริเวณตุ่มพุพองยังไม่ทุเลาลง สหวิชาชีพจึงได้ส่งปรึกษาแพทย์แผนไทย เข้าร่วมทีมดูแล
ผู้ป่วยและไปพบผู้ป่วยครั้งแรกที่บ้านโดยยังไม่ได้ใช้ยาสมุนไพร หลังจากนั้นแพทย์แผนไทยกลับมาพิจารณา
ทรัพยากรยาสมุนไพรและตัดสินใจตั้งตำรับยาพอกสมุนไพรผสมน้ำมันกัญชาตำรับหมอเดชา ใช้พอกบริเวณที่มี
อาการปวดแสบร้อน พอกนาน 30 นาที ครั้งที่ 1 หลังพอกผู้ป่วยให้ข้อมูลว่ารู้สึกเย็น ไม่แสบร้อน อาการปวด
ลดลง จึงได้สอนญาติของผู้ป่วย และพอกต่อเนื่องให้กับผู้ป่วยทุกวัน จนถึงวันที่ผู้ป่วยเสียชีวิต ร่วมระยะเวลา
การใช้ยาพอกสมุนไพรผสมน้ำมันกัญชาตำรับหมอเดชาประมาณ 45 วัน แพทย์แผนไทยให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
การตั้งตำรับผสมนมันกัญชาว่า “ยาพอกที่มีในโรงพยาบาลตอนนั้นก็ไม่มีตัวไหนมีสรรพคุณโดดเด่นเกี่ยวกับลด
ความร้อนเลย จึงคิดว่าต้องตั้งตำรับขึ้นมาเอง” “ใจตอนแรกเลยอยากให้ผู้ป่วยได้ใช้น้ำมันกัญชาแบบหยอดใต้ลิ้น
แต่ผู้ป่วยปฏิเสธเพราะได้รับมอร์ฟีนอยู่แล้ว กลัวว่ามันจะเยอะเกินไป กลัวหลับไม่ตื่น” ตำรับยาพอก
ประกอบด้วยน้ำมันว่านผสมกับน้ำมันกัญชาจำรับหมอเดชา ในอัตราส่วน 2:1 แป้งข้าวจ้าว 200 กรัม ขมิ้นชัน
5 แคปซูล (2,500 mg) ฟ้าทะลายโจน 5 แคปซูล (2,500 mg) สหัสธารา 2 แคปซูล (1,000 mg) ตอนเริ่มพอก
ครั้งแรก ผู้ป่วยบอกว่ารู้สึกเย็นตรงที่พอก รู้สึกเย็นนาน เอายาออกแล้วก็ยังเย็นอยู่ ลดอาการปวดแสบปวดร้อนได้
เย็นนานกว่าการประคบเย็น ผู้ป่วยพึงพอใจ หลังพอกทำให้นอนหลับสนิท
อภิปรายผล
การรักษาเสริมโดยใช้ยาพอกสมุนไพรผสมน้ำมันกัญชาตำรับหมอเดชา มีประสิทธิผลช่วยลดอาการปวด
แสบร้อน บริเวณตุ่มที่พุพอง และความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิตได้ เมื่อทีมสหวิชาชีพ
พบว่าผู้ป่วยประสบปัญหา แนวทางการรักษาหลักอาจไม่เพียงพอ ทีมสหวิชีพร่วมกันหาแนวทางการรักษาเสริม
และเปิดโอกาสให้แพทย์แผนไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย ทำให้การดูแลผู้ป่วยรายนี้ประสบ
ความสำเร็จเกิดประโยชน์กับผู้ป่วย ญาติ และทีมสหวิชาชีพด้วย
สรุปและข้อเสนอแนะ
การใช้กัญชาในรูปแบบทาทางผิวหนัง สาระสำคัญที่พบในกัญชาสามารถดูดซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแส
เลือด ออกฤทธิ์ลดอาการปวดได้ ช่วยเพิ่มทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดไม่สารมาถใช้ในรูปแบบ
รับประทานได้ เป็นการเพิ่มแนวทางการรักษาและทางเลือกให้กับผู้ป่วยต่อไป