Page 509 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 509
L58
ในผู้ป่วยโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังในโรงพยาบาลกุดชุม อ.กุดชุม จ.ยโสธร ซึ่งเป็นการดูแลตามแนวเวช
ปฏิบัติการดูแลระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อบรรเทาอาการหอบที่ไม่รุนแรง ลดการกำเริบ และลดผลกระทบ
ทั้งด้านคุณภาพชีวิต รวมถึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ป่วยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพได้ต่อไป
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อประเมินผลของตำรับยาสุมสมุนไพรในผู้ป่วยโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง
โรงพยาบาลกุดชุม อ.กุดชุม จ.ยโสธร
วิธีการศึกษา
ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นวิจัยเชิงกึ่งทดลอง วัดผลก่อนและหลังดำเนินงาน (Quasi-experimental
pretest-posttest Design) กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยโรคหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง ที่มารับการรักษาที่
คลินิกโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังโรงพยาบาลกุดชุม มีเกณฑ์คัดเข้า คือ 1) ความดันโลหิต< 180/110 mm.Hg.
2) ค่าออกซิเจนในเลือด≥ 90% 3) อัตราการเต้นของหัวใจ< 120 4) ไม่เป็นโรคหัวใจ 5) ไม่แพ้สมุนไพร และสมัครใจ
จํานวน 22 คน เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ ตำรับยาสุมสมุนไพร เครื่องความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก
เครื่องวัดส่วนสูง เครื่องวัดค่าออกซิเจนในเลือด เครื่องมือวัดสมรรถภาพความจุปอด และเครื่องมือเก็บรวบรวม
ข้อมูล ได้แก่ แบบฟอร์มประเมินช่วงการหอบ, ประเมิน MMRC และ CAT score แผ่นพับท่าบริหารปอดด้วย
ฤษีดัดตน และแบบฟอร์มประเมินความพึงพอใจในการให้บริการของแพทย์แผนไทยในคลินิกโรคระบบทางเดิน
หายใจเรื้อรัง เก็บรวบรวมข้อมูลระยะเวลา 5 เดือน ระหว่าง เดือนตุลาคม 2566 – กุมภาพันธ์ 2567 วิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ paired t-test
ขั้นตอนการวิจัย : ครั้งที่ 1 ซักประวัติและประเมินผู้ที่สามารถใช้ยาสุมสมุนไพร พร้อมจ่ายยาสุม
สมุนไพร วิธีใช้ ใช้ครั้งละ 1 ซอง (5กรัม) ใช้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง สอนและแจกแผ่นพับท่าบริหารปอด 2 ท่า
ของฤษีดัดตน โดยให้ทำทุกวัน ครั้งที่ 2 ติดตามอาการโดยการโทรศัพท์ในสัปดาห์แรก ครั้งที่ 3 ติดตามอาการ
โดยการโทรศัพท์หรือเยี่ยมบ้านในสัปดาห์ที่ 4 ครั้งที่ 4 ติดตามอาการโดยการนัดกลุ่มตัวอย่างเข้ามารับบริการ
ที่โรงพยาบาล ครั้งที่ 5 เก็บรวบรวมข้อมูลและประเมินผลการใช้ตำรับยาสุมสมุนไพร
ผลการศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 54.5% มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 54.5% สถานภาพสมรส 90.5%
ประกอบอาชีพเกษตรกรรม 36.4% และไม่มีประวัติการสูบบุหรี่ 59.1% ผู้ป่วยมีอาการหอบช่วงกลางวันลดลง
จาก 59.1% เป็น 63.6% มีอาการหอบช่วงกลางคืนลดลงจาก 40.9% เป็น 50% ค่า MMRC (ความรู้สึก
เหนื่อย) ก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) คือก่อนรับยาสุมสมุนไพรอยู่ในระดับ 2
(คุณเดินได้ช้ากว่าคนที่อายุใกล้เคียงกันเนื่องจากเหนื่อยหรือต้องหยุดเดินเพื่อพักหายใจ) คิดเป็น 54.5%และ
หลังรับยาสุมสมุนไพรอยู่ในระดับ 1 (คุณรู้สึกเหนื่อยเมื่อต้องเดินรีบๆหรือขึ้นที่สูง) คิดเป็น 77.3% ค่า CAT
Score (คุณภาพชีวิต) ก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) คือ ก่อนรับยาสุมสมุนไพร
ค่าเฉลี่ย 9.7272 หลังใช้ยาสุมสมุนไพร ค่าเฉลี่ย 4.9545 และระดับความพึงพอใจในการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืด
และปอดอุดกั้นเรื้อรังของแพทย์แผนไทย อยู่ในระดับ ดีมากที่สุด คิดเป็น 52.5%
อภิปรายผล
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลของตำรับยาสุมสมุนไพรในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง
โดยผู้ป่วยโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังได้รับยาสุมสมุนไพรซึ่งมีค่า MMRC และค่า CAT Score ดีกว่าก่อน
การรับยาสุมสมุนไพรอย่างนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น อาการหอบลดลง
อาการปวดศีรษะและวิงเวียนลดลง ซึ่งในส่วนประกอบของยาสุมสมุนไพรมีสรรพคุณ บรรเทาอาการหอบ
ช่วยขยายหลอดลม และลดอาการอักเสบในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น สอดคล้องการงานวิจัยของเหมราช