Page 510 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 510

L59



                  (2566) ได้ศึกษาผลของการใช้ยาพ่นดอกปีบในผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้น และงานวิจัยของนูรีซัน (2562)
                  ศึกษาประสิทธิผลของการอบสมุนไพรในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ที่พบว่าเหง้าไพล ขมิ้นชันมีน้ำมัน
                  หอมระเหยมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ และใบคนทีสอใบหนุมานประสานกาย ดอกปีบ มีฤทธิ์ขยายหลอดลม
                  ซึ่งเป็นฤทธิ์เดียวกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้ในการรักษาโรคผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         ผลของยาสุมยาสมุนไพรในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ช่วยบรรเทาอาการกำเริบของโรค
                  ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น  มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในการให้บริการของแพทย์แผนไทย
                  ผู้ป่วยมีทางเลือกในการดูแลตนเองโดยการใช้ยาสมุนไพร ร่วมกับการบริหารด้วยท่าฤษีดัดตน ตามนโยบาย
                  ของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการใช้สมุนไพร และสนับสนุนวิสัยทัศน์โรงพยาบาลในการดูแลแบบผสมผสาน
                         การศึกษาครั้งนี้มีขั้นตอนการเตรียมสมุนไพรหลายขั้นตอน ทำให้ยาสมุนไพรไม่เพียงพอต่อการใช้ ทำให้

                  การประเมินผลไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อย และไม่มีการเปรียบเทียบกลุ่มทดลอง
                  ที่ไม่มีการใช้ยาสุมสมุนไพร และการวัดผลก่อนและหลังการศึกษาผลของยาสุมสมุนไพรดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
                  ทางสถิติ ซึ่งสามารถนำไปสู่การจัดทำแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังโดยแพทย์

                  แผนไทยได้ต่อไปในอนาคต
   505   506   507   508   509   510   511   512   513   514   515