Page 511 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 511
L60
การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาการแพทย์แผนไทย
ร่วมกับภาคีเครือข่ายในอำเภอคำเขื่อนแก้ว
นายรัฐธีร์ สินธุศรีวิศาล และนางสาวโสมรัศมี แสงเดช
โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เขตสุขภาพที่ 10
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายขับเคลื่อนสำคัญ
ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข “ประชาชนสุขภาพดี ประเทศไทยสุขภาพดี”
ซึ่งในปีงบประมาณ 2567 มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และเสริมสร้างเศรษฐกิจ ด้วยภูมิปัญญาสมุนไพรไทย
การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก โดยมีนโยบายการพัฒนางานด้านการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้เป็นที่ประจักษ์ ด้วย Model 3I 1D ซึ่ง 3I ประกอบไปด้วย 1) Integrity
เป็นการสร้างความเชื่อมั่น การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมบนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ มีการสื่อสาร เพื่อสร้าง
ความเชื่อมั่นในการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย 2) Integration เป็นการผสานพลัง
เครือข่ายบูรณาการทุกมิติ ผสานการแพทย์ทุกแขนงด้วยความร่วมมือของสหวิชาชีพทุกภาคีเครือข่าย ทั้ง
ภาครัฐและเอกชน เพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันในระดับสากล และ 3) Innovation คือการสร้าง
นวัตกรรมเพิ่มคุณค่า พัฒนา และส่งเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาไทย ประยุกต์ใช้หลักการวิทยาศาสตร์เพื่อ
เสริมสร้างภาพลักษณ์ และหาวิธีการที่ทันสมัย เพื่อสร้างการยอมรับในระบบบริการสุขภาพ สู่การสร้างมูลค่า
ทางเศรษฐกิจ ในส่วนของ 1D คือ ข้อมูลคุณภาพ Data – driven Organization คือการขับเคลื่อนองค์กร
ด้วยข้อมูลที่มีคุณภาพและทันต่อสถานการณ์
การพัฒนาการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้เกิดประสิทธิภาพนั้น
ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายอย่างไร้รอยต่อ เริ่มต้นจากการให้ประชาชน
มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การดูแลรักษาโรคด้วยการแพทย์แผนไทย
และการแพทย์ทางเลือก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในองค์ความรู้ ประชาชนสามารเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ
และมาตรฐาน และสามารถใช้องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยมาใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพเมื่อมีการเจ็บป่วย
ช่วยลดค่าใช้จ่าย และการใช้ยาเกินความจำเป็น
ระบบบริการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในโรงพยาบาลนั้น ประกอบไปด้วย การตรวจ
วินิจฉัย บำบัดรักษา ป้องกัน ฟื้นฟูสภาพ และการส่งเสริมสุขภาพ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยที่ครอบคลุม
ทั้ง 4 สาขา ได้แก่ สาขาเวชกรรมไทย สาขาเภสัชกรรมไทย สาขาผดุงครรภ์ไทย และสาขาหัตถเวชกรรมไทย
รวมไปถึงส่งเสริมภูมิปัญญาไทยและการแพทย์พื้นบ้าน กัญชาทางการแพทย์แผนไทย โดยผู้ประกอบวิชาชีพ
การแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่ให้บริการนั้น จะต้องได้รับการอบรมและพัฒนาทักษะ
ในแต่ละด้านตามแผนการพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบริการสุขภาพ
เพื่อให้เกิดความชำนาญและเกิดประสิทธิผลสูงสุดกับผู้รับบริการ
การแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์ที่เน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษาโรค
และฟื้นฟูสุขภาพ แต่ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าใจบทบาทหน้าที่และองค์ความรู้ในการการแพทย์แผนไทย
อย่างไม่ถูกต้อง การประชาสัมพันธ์การให้บริการไม่ทั่วถึง การเดินทางมารับบริการมีความห่างไกล สถานที่
ให้บริการไม่เพียงพอ ทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย ส่งผลให้การเข้าถึงบริการ
แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในโรงพยาบาลยังน้อย และส่งผลให้ตัวชี้วัดร้อยละผู้ป่วยนอกที่มารับ