Page 513 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 513
L62
1.ประชาชนขาดความรู้เข้าใจในการรักษาด้วยศาสตร์ บริการ และมีการจัดอบรมให้ความรู้การดูแล
การแพทย์แผนไทย ทำให้การเข้าถึงบริการแพทย์ สุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
แผนไทยยังน้อย 2. ควรจัดสรรเวลาในการให้บริการเพื่อลด
2. ระยะเวลาการรอคอยในการเข้ารับบริการแพทย์ ระยะเวลาการ
แผนไทยล่าช้า รอคอยของผู้มารับบริการ
1.ควรมีกาจัดสรรงบประมาณในการปรับปรุงแก้ไข้
ด้านสถานที่และอุปกรณ์ สถานที่และจัดการวัสดุอุปกรณ์อำนวยความ
1. สถานที่ยังไม่ได้มาตรฐานตามมาตรฐานงานแพทย์แผนไทย สะดวกเพิ่มเติม
2. วัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น เตียงทำหัตการ
ด้านบุคลากร 1. ควรมีการจัดสรรบุคลากรเพิ่มเติมเพื่อให้
1.บุคลากรไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้มารับบริการ เพียงพอต่อจำนวนผู้มารับบริการ
จากการวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอของผู้มารับบริการ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการพัฒนาการ
เข้าถึงระบบบริการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว โดยใช้หลัก PAOR ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้
1. การวางแผน (Planning) คือ กระบวนการประชุมกำหนดทิศทางการดำเนินงาน ประกอบไปด้วย
การกำหนดวัตถุประสงค์การบริหารจัดการ การจัดสรรทรัพยากร การนำไปใช้ และการควบคุมกำกับติดตาม
ประเมินผล โดยกำหนดให้มีแผนการออกตรวจโอพีดีคู่ขนานร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันที่แผนกผู้ป่วยนอก และ
แผนการออกให้บริการแพทย์แผนไทยเคลื่อนที่ทั้งในชุมชุน หน่วยงานราชการในเขตพื้นที่ เสนอต่อคณะ
กรรมการบริหารในโรงพยาบาล สหวิชาชีพและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รับทราบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงาน
เพื่อสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ปฏิบัติตามแผน (Action) คือ การดำเนินการเพื่อให้ได้ตามแผนที่มีการกำหนดไว้ โดยการประสานงาน
กับการแพทย์แผนปัจจุบันจัดวันออกตรวจโอพีดีคู่ขนาน 2 วัน/สัปดาห์ (วันจันทร์และวันอังคาร) และประสานงาน
กับภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนหรือหน่วยงานราชการ ออกให้บริการแพทย์แผนไทยเคลื่อนที่ 1 วัน/สัปดาห์
(วันพุธ)
3. การสังเกตการณ์ (Observing) คือ การประเมินผลการดำเนินงาน กิจกรรมต่างๆและเก็บรวบรวม
ข้อมูลผู้มารับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
ด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาล 1 วัน/ปีงบประมาณ เพื่อประเมินผลและนำข้อมูลมาสะท้อนผล
การดำเนินงาน
4. การสะท้อนผลการปฏิบัติการ (Reflecting) คือ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสะท้อนผลการ
ดำเนินงาน โดยการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยวิเคราะห์และสังเคราะห์
จัดทำเป็นเอกสารผลการดำเนินงานประจำปี โดยอาศัยวงจร PAOR ในการพัฒนาปรับปรุงให้การดำเนินงาน
บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ผลการศึกษา
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ในปี 2565 และ 2566 พบว่าร้อยละผู้ป่วยนอกที่มารับบริการการแพทย์
แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยนอกทั้งหมดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.98 และ 25.32
ตามลำดับ (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร, 2566) ซึ่งถือว่าผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนด