Page 512 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 512

L61



                  บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในปีงบประมาณ 2562 - 2564 คือ ร้อยละ 11.78, 9.00,
                  และ 20.16 ตามลำดับ ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทย
                  กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
                         จากปัญหาการให้บริการแพทย์แผนไทยดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจการพัฒนาระบบบริการสุขภา (Service Plan)
                  สาขาการแพทย์แผนไทยร่วมกับภาคีเครือข่ายในอำเภอคำเขื่อนแก้ว เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริการ

                  สุขภาพให้มีคุณภาพและมาตรฐานตามแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขด้านการให้บริการเป็นเลิศ
                  นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของการดำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทย ซึ่งผลการศึกษาที่ได้
                  จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาการแพทย์แผนไทยในระดับอำเภอ และเป็นแนวทางใน

                  การปฏิบัติงานกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในโรงพยาบาลชุมชน ร่วมกับภาคีเครือข่าย
                  สุขภาพระดับอำเภอ รวมไปถึงบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อให้
                  ประชาชนสามารถนำศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาใช้ในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามตัวชี้วัดของกระทรวง

                  สาธารณสุข
                         2. เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกโดยความร่วมมือ
                  กับภาคีเครือข่าย

                  วิธีการศึกษา

                         การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยเน้นการนำนโยบายของผู้บริหาร
                  องค์กรมาสู่การปฏิบัติและการมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพในโรงพยาบาลรวมไปถึงเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ
                  ซึ่งจากการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ การให้บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
                  ในโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว โดยใช้ข้อมูลจากคำถามปลายเปิดของแบบสอบถามจำนวน 112 พบว่า ผู้มารับบริการได้
                  นำเสนอปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะทั้งหมด 42 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 37.5 โดยปัญหา อุปสรรค และ

                  ข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ คือ การปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดบริการ ร้อยละ 45.2
                  การปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทย ด้านสถานที่และอุปกรณ์ ร้อยละ 35.7 ส่วนปัญหา
                  อุปสรรคน้อยที่สุด คือ การปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทย ด้านบุคลาการ ร้อยละ 19.0

                  ตารางที่ 1 จำนวนร้อยละ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในระบบการบริการแพทย์แผนไทย
                  ในโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
                                      รายการ                          ปัญหา อุปสรรค          ข้อเสนอแนะ
                                                                  จำนวน       ร้อยละ      จำนวน  ร้อยละ

                   ด้านการจัดบริการ                               22          52.3        16        38.1

                   ด้านสถานที่และอุปกรณ์                          17          40.5        12        28.6

                   ด้านบุคลากร                                    10          23.9        9         21.4

                  ตารางที่ 2 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในระบบการบริการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว

                                   ปัญหา อุปสรรค                                  ข้อเสนอแนะ

                   ด้านการจัดบริการ
                                                                    1.ควรมีการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและ

                                                                    ภายนอกสถานพยาบาล เพื่อเพิ่มการเข้าถึง
   507   508   509   510   511   512   513   514   515   516   517