Page 555 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 555

N19

                             ผลลัพธ์ของการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการสั่งใช้ยา meropenem

                                       ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลพระพุทธบาท


                                                                                   เภสัชกรหญิงสุภาพร คชายั่งยืน
                                                              โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เขตสุขภาพที่ 4

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศทั่วโลก Antimicrobial Stewardship Program
                  (ASP) เป็นกระบวนการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยโรงพยาบาลพระพุทธบาทพบปัญหาเชื้อดื้อยา
                  Carbapenem resistant Acinetobacter baumannii (CRAB) มากเป็นอันดับสอง ซึ่งสอดคล้องกับ
                  สถานการณ์การใช้ยา meropenem ที่มีมูลค่าการใช้ กลุ่มยาต้านจุลชีพสูงที่สุด จึงนำกระบวนการประเมินและ
                  ให้ข้อเสนอแนะในการสั่งใช้ (prospective audit and feedback: PAF) ซึ่งเป็นกระบวนการหลักของ ASP

                  มาช่วยสนับสนุน ส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1.  ศึกษาผลลัพธ์ของกระบวนการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการสั่งใช้ยา meropenem ต่อ
                  ร้อยละของการ De-escalation และระยะเวลาการใช้ยา (DOT)
                         2.  ศึกษาผลลัพธ์ทางการรักษาที่ดีขึ้น และอัตราการตายที่ 30 วัน


                  วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental study) เปรียบเทียบผลลัพธ์ของกลุ่มที่ได้รับ
                  การรักษาตามมาตรฐาน ทำการศึกษา ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2566 จนถึง เดือน 31 พฤษภาคม
                  พ.ศ. 2566 กับ กลุ่มที่ได้รับการประเมินและข้อเสนอแนะในการสั่งใช้ยา ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2566 –
                  31 สิงหาคม 2566 ที่ได้รับยา meropenem ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลพระพุทธบาท วิเคราะห์ข้อมูล

                  โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน (Independence t-test/ Mann whitney test และ Pearson’s
                  chi-squared test/ Fisher’s Exact test)

                  ผลการศึกษา: กลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน และ กลุ่มที่ได้รับการประเมินและข้อเสนอแนะ พบร้อยละ
                  ของการ De-escalation เท่ากับ 6 และ 14.6 ตามลำดับ (p-value = 0.014)  และระยะเวลาการใช้ยา เท่ากับ
                  11 และ 7 วัน ตามลำดับ (p-value < 0.001) ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณา

                  ผลลัพธ์ทางการรักษาที่ดีขึ้นพบ กลุ่มที่ได้รับการประเมินและข้อเสนอแนะมีผลลัพธ์การรักษาที่ดีขึ้นในวันที่ 3
                  และ 5 สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบอัตราการตายที่ 30 วัน
                  ของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
   550   551   552   553   554   555   556   557   558   559   560