Page 550 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 550

N14

                        พัฒนารูปแบบการให้ความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ

                                     โดยประยุกต์ใช้ Application Line Official Account


                                                                                         นางเปรมวดี พัฒนสิริกุล
                                                                    โรงพยาบาลทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เขตสุขภาพที่ 3

                                                                                ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

                  ความสำคัญของปัญหา

                         ไทยประสบปัญหาเชื้อดื้อยาพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยา เกือบทุกชนิดพร้อมกัน เช่น
                  การดื้อยากลุ่ม fluoroquinolones และ third-generation cephalosporins ของเชื้อกลุ่ม enterobacteriaceae
                  และการดื้อยากลุ่ม carbapenem ของเชื้อ Acinetobacter baumannii ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคที่สำคัญของการ
                  ติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โรงพยาบาลทับคล้อ รองรับผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาที่รับส่งกลับมา
                  รักษาจาก รพศ.รพท.และรพ.แม่ข่าย แนวโน้มสูงขึ้นปี 2563-2565 ร้อยละ22.27, 26.92 และ37.07ตามลำดับ

                  และพบผู้ป่วยรายเดิมจากปีก่อนปัจจุบันยังพบเชื้อดื้อยา ร้อยละ 16.7,25.0 และ33.4 ตามลำดับ ซึ่งผู้ป่วย
                  จะกลับเข้ามานอนโรงพยาบาลทุก 1-3 เดือน แนวโน้มผู้ป่วยดื้อยาต้านจุลชีพที่อาศัยอยู่ในชุมชนจึงเพิ่มมากขึ้น
                  และ พบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพขาดความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ จากการเฝ้าระวัง

                  การแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ และประเมินความรู้การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ พบมีผู้ดูแลมีความรู้
                  ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำคิดเป็นร้อยละ 70.3 และเมื่อประเมินการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อพบว่า
                  ปฏิบัติได้ถูกต้องเพียงร้อยละ 9.75 และพบการปฏิบัติที่อาจเกิดการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในชุมชน ได้แก่
                  การจัดการของเครื่องใช้ของผู้ป่วย การจัดการผ้าเปื้อนและการจัดการขยะติดเชื้อ ดังนั้นคณะกรรมการป้องกัน

                  ควบคุมการติดเชื้อ จึงพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และสื่อสารความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา
                  ในรูปแบบ Application Line Official  Account เพื่อเป็นการสื่อสารความรู้และส่งเสริมการปฏิบัติ
                  เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

                  วัตถุประสงค์
                         1.  เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโดยประยุกต์ใช้

                  Application Line Official Account
                         2.  เพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลผู้ป่วยมีความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ

                  วิธีการ
                         1.  ประเมินความรู้การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา
                  ต้านจุลชีพ และนำมาวิเคราะห์ผลหาส่วนขาด พบโอกาสพัฒนาในการให้ความรู้เรื่อง การป้องกัน

                  การแพร่กระจายเชื้อดื้อยา, การใช้อุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ, การใช้น้ำยาทำลายเชื้อ, การทำ
                  ความสะอาดผ้าเปื้อน, การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะติดเชื้อ
                         2.  จัดทำสื่อความรู้ประเด็นสำคัญในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ จำนวน 10 ประเด็น ได้แก่

                  1) วิธีการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา 2) การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา 3) การสวมถุงมือ 4) การสวมเสื้อ
                  คลุมกันเปื้อน 5) การถอดถุงมือ 6) การถอดเสื้อคลุม 7) การใช้น้ำยาทำลายเชื้อ 8) การทำความสะอาดผ้าเปื้อน
                  สารคัดหลั่ง 9) การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม 10) การจัดการขยะติดเชื้อ
                         3.  จัดทำ Application Line Official Account “ป้องกันเชื้อดื้อยา” และนำไปใช้กับผู้ดูแลผู้ป่วยเชื้อดื้อยา
                         4.  ประเมินความพึงพอใจในการใช้ Application Line Official Account “ป้องกันเชื้อดื้อยา”
   545   546   547   548   549   550   551   552   553   554   555