Page 656 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 656

P33


                         ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น

                  ทะลุ ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว คือ ตับแข็งจากการดื่มสุราเรื้อรัง ร่วมกับการใช้ยาสมุนไพร ยาสเตียรอยด์
                  หรือยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบ โดยการผ่าตัดเย็บซ่อมรูรั่วผ่านกล้องประสบความสำเร็จทุกราย ใช้เวลาในการ
                  ผ่าตัดเฉลี่ย 81 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่เหมาะสม ปริมาณเลือดที่เสียขณะผ่าตัดเฉลี่ย 10 มิลลิลิตร ซึ่งน้อยกว่า
                  ปริมาณการเสียเลือดจากการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง หลังผ่าตัดสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าปกติ รวมถึงวันนอน

                  โรงพยาบาลลดลง นอกจากนี้ ยังพบว่า ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ตามปกติทุกราย
                  ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจากผ่าตัด เช่น การติดเชื้อค้างในช่องท้อง หรือมีรูรั่วซ้ำ (leakage) ภายใน 30 วัน
                  หลังจากการรักษา อย่างไรก็ตาม พบผู้ป่วย 1 ราย ที่ไม่สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้หลังผ่าตัด ร่วมกับ
                  พบภาวะแทรกซ้อนจากปอดอักเสบ และปฏิเสธการรักษาต่อในโรงพยาบาลในระยะเวลาต่อมา อธิบายได้ว่า

                  ภาวะแทรกซ้อนปอดอักเสบที่เกิดขึ้น สัมพันธ์กับการเป็นผู้ป่วยสูงอายุ คือ 78 ปี ร่วมกับมีโรคประจำตัว ได้แก่
                  เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไตเสื่อมระยะที่ 4 ซึ่งผู้ป่วยสูงอายุมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน
                  หลังผ่าตัดเมื่อเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ และส่งผลต่อแนวโน้มของอัตราการตายที่สูงขึ้น สำหรับผล

                  การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนหลังจากผ่าตัดเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ที่ส่วนใหญ่พบการติดเชื้อแบคทีเรีย
                  H. Pylori ถึงร้อยละ 55 ทั้งนี้เนื่องจาก แผลกระเพาะอาหารส่วนใหญ่เป็นผลจากการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะ
                  อาหารส่วน antrum โดยการอักเสบนี้เป็นผลจากเชื้อ H. Pylori ที่อยู่ในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะผู้ป่วย
                  ที่มีภาวะกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังมาก่อนจนเกิดภาวะกระเพาะทะลุ ซึ่งให้การรักษาต่อด้วยการใช้ยา
                  ปฏิชีวนะ


                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         การผ่าตัดเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุผ่านกล้อง เป็นการผ่าตัด
                  ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยเทียบเท่ากับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง นอกจากนี้ ข้อดีของการผ่าตัด
                  ผ่านกล้องยังช่วยยืนยันการวินิจฉัย ในรายที่ยังให้การวินิจฉัยได้ไม่ชัดเจน(Uncertain diagnosis) และพร้อมที่

                  จะให้การรักษาโรคในภาวะอื่นได้ด้วย สามารถช่วยลดการผ่าตัดเปิดหน้าท้องโดยไม่จำเป็นลงได้ จึงเป็น
                  ทางเลือกที่น่าสนใจของศัลยแพทย์ อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อจำกัดในด้านความพร้อมของเครื่องมือที่ใช้ในการ
                  ผ่าตัดผ่านกล้อง และจำเป็นต้องกระทำโดยศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากการผ่าตัดในภาวะนี้
                  มักเป็นกรณีฉุกเฉิน จึงยังเป็นการผ่าตัดที่ยังไม่แพร่หลายในโรงพยาบาลต่างๆ จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา

                  แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องจึงมีน้อย ดังนั้น ควรสนับสนุน
                  ให้มีการรักษาด้วยวิธีนี้เพิ่มมากขึ้น
   651   652   653   654   655   656   657   658   659   660   661