Page 654 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 654
P31
ผลลัพธ์ของการผ่าตัดผ่านกล้องในผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุ
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
นายแพทย์กิตติพร กลิ่นขจร
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เขตสุขภาพที่ 7
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคกระเพาะอาหาร หรือแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer disease) คือ แผลที่เกิดบริเวณ
ชั้นเยื่อบุทางเดินอาหาร (Mucosa) ของกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นที่ลึกจนถึงชั้นใต้เยื่อบุ
ทางเดินอาหาร (Submucosa) พบผู้ป่วยรายใหม่สำหรับโรคนี้ทั่วโลกประมาณ 4 ล้านคนต่อปี มีสาเหตุหลัก
จากการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) การใช้ยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAID
(Nonsteroidal anti-inflammatory drug) รวมถึงสาเหตุอื่น เช่น สูบบุหรี่ ยาสเตียรอยด์ ความเครียด
อดอาหาร ยาเคมีบำบัดบางตัว จนถึงการใช้สารเสพติด โดยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะการทะลุ
ของแผลในกระเพาะอาหารได้ร้อยละ 2 – 14 ซึ่งภาวะกระเพาะอาหารทะลุ ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินที่อาจ
ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หากได้รับการรักษาล่าช้า และไม่เหมาะสม และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น
การอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง (diffuse peritonitis) ติดเชื้อในกระแสเลือด(sepsis) และมีโอกาสเสียชีวิตสูง
การผ่าตัดยังมีความสำคัญ ในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนของแผลในกระเพาะอาหารทะลุ ซึ่งการผ่าตัด
ได้หลายวิธี เช่น เย็บซ่อมรูรั่วในกระเพาะอาหาร (simple suture) ร่วมกับการนำเนื้อเยื่อ omentum มาเสริม
ในขณะที่ปัจจุบันการผ่าตัดผ่านกล้อง(laparoscopic surgery) เพื่อรักษาโรคทางศัลยกรรม เช่น ถุงน้ำดีอักเสบ
นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงได้รับความนิยมมากขึ้น แทนการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
(laparotomy) เนื่องจากมีข้อดีคือ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เจ็บแผลน้อยกว่า และผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วกว่าการผ่าตัด
เปิดหน้าท้อง โดยพบรายงานการผ่าตัดรักษาแผลในกระเพาะอาหารทะลุผ่านกล้องครั้งแรกโดย Dr. P. Mouret
et al. ในปี ค.ศ.1989 อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่า หากมีอาการเกิน 24 ชม. หรืออายุมากกว่า 70 ปี
มีภาวะความดันต่ำ ASA grade III และ IV (American Society of Anesthesiology) ถือว่ามีความเสี่ยงสูง
ควรพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดโดยโดยเปิดหน้าท้อง ซึ่งได้ผลลัพธ์ของการรักษาดีกว่า
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการผ่าตัดผ่านกล้องในผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุ
ในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 1) ผลลัพธ์ระหว่างผ่าตัด ได้แก่ ปริมาณเลือดที่เสียไปขณะผ่าตัด
ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด วิธีผ่าตัด Degree of contamination และปริมาณเลือดที่เสียไปขณะผ่าตัด
และ 2) ผลลัพธ์หลังผ่าตัด ได้แก่ การผ่าตัดซ้ำ ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด การใช้เครื่องช่วยหายใจหลังผ่าตัด
การเข้าพักรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติ ระยะเวลาที่รับรักษาในโรงพยาบาล สถานะเมื่อออกจากโรงพยาบาล
และผลการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น
วิธีการศึกษา