Page 655 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 655

P32


                         งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา (Retrospective descriptive study)

                  ในประชากรที่เป็นผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุ ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด
                  เย็บซ่อมรูรั่วผ่านกล้อง จำนวน 20 คน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 กำหนด
                  เกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion criteria) คือ ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 15-70 ปี ระดับความรู้สึกตัวเมื่อแรกรับเป็นปกติ
                  เกณฑ์การคัดออก (Exclusion criteria) คือ ผู้ป่วยมีประวัติได้รับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องมาก่อน มีอาการ

                  ก่อนมาถึงโรงพยาบาลเกิน 24 ชม. ความดันโลหิตเมื่อแรกรับน้อยกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ASA grade III
                  และ IV (American Society of Anesthesiology)  เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ข้อมูลที่ได้นำมา
                  วิเคราะห์และคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ
                  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน


                  ผลการศึกษา
                         ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุทั้งหมดเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 60.35 ± 11.49 ปี
                  ส่วนใหญ่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 60 มีโรคประจำตัว คือ Hypertension มากที่สุด
                  คิดเป็นร้อยละ 25 ค่ามัธยฐานของระยะเวลาที่แสดงอาการจนมาถึงโรงพยาบาล (Onset previous to
                  hospital) เท่ากับ 6 ชั่วโมง (IQR: 4 - 16) มีประวัติเคยใช้ยาสเตียรอยด์หรือยาสมุนไพร (Steroid and herbal

                  used) ร้อยละ 40 และประวัติเคยใช้ยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) ร้อยละ 40
                         ผลลัพธ์ระหว่างผ่าตัดผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุผ่านกล้อง  พบว่า ระยะเวลา
                  ที่ใช้ในการผ่าตัด (Operative time) เฉลี่ย 81.00 ± 21.92 นาที ใช้การผ่าตัดแบบ 3 ports คิดเป็นร้อยละ 90

                  Degree of contamination ในระดับปานกลาง (Moderate) คิดเป็นร้อยละ 55 ค่ามัธยฐานของปริมาณ
                  เลือดที่เสียไปขณะผ่าตัด (Estimated blood loss) เท่ากับ 10 ml (IQR: 5.5 - 10)
                  ผลลัพธ์หลังผ่าตัดผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุ ไม่พบการผ่าตัดซ้ำ (Re-operation)
                  และไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดใน 30 วัน (30 day post-operative complication) ถึงร้อยละ 95,

                  พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด (Immediately post-operative complication) ได้แก่ ปอดอักเสบ
                  (Pneumonia) และปฏิเสธการรักษา จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 5, ใช้เครื่องช่วยหายใจหลังผ่าตัด (Post-
                  operative ventilator use) พักรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต (Need-ICU) จำนวน 2 รายคิดเป็นร้อยละ 10
                  ซึ่ง 1 รายเป็นรายเดียวกันกับผู้ป่วยที่เกิดปอดอักเสบและปฏิเสธการรักษา ค่ามัธยฐานของระยะเวลา

                  ที่รับรักษาในโรงพยาบาล (Length of hospital stay) เท่ากับ 6 วัน (IQR: 5.5 - 7) สถานะเมื่อจำหน่าย
                  (Discharge status) เป็นปกติ คิดเป็นร้อยละ 95 ผลการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น
                  (Esophagogastroduodenoscopy: EGD หรือ Upper Endoscopy) หลังได้รับการผ่าตัดส่องกล้อง
                  ที่ 8 สัปดาห์ (Post-operative EGD   8 weeks) พบแผลเรื้อรังหายช้า (Chronic ulcer) ร้อยละ 40 และติด

                  เชื้อ H. Pylori ร้อยละ 55

                  อภิปรายผล
                         ผลของการผ่าตัดผู้ป่วยเพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุผ่านกล้อง
                  โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 20 ราย ภายในระยะเวลา 2 ปี ประสบความสำเร็จในด้านของการผ่าตัด
                  ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ซึ่งโดยทั่วไปภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดขึ้นหลังผ่าตัดผ่านกล้อง ได้แก่ การติด

                  เชื้อค้างอยู่ในช่องท้อง (Intra-abdominal collection) และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพยาธิสภาพที่ปอด
                  (Post-operative lung complication)
   650   651   652   653   654   655   656   657   658   659   660