Page 658 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 658

P35

                                                                   4
                  ตามแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล ) Appraisal of Guideline for Research &
                  Evaluation II; AGREE II (ได้ค่าเฉลี่ย 4.94 ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Validity) ได้ค่าดัชนีความ
                  สอดคล้องเท่ากับ 0.96
                         ระยะที่ 3 นำรูปแบบฯ ไปใช้และประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล เลือกแบบเจาะจง

                  (Purposive Sampling) จากผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ ต.ค.2565 ถึง มิ.ย. 2566
                  จำนวน 49 คน และแพทย์พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยฯ จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ :  1 ( ) รูปแบบบริการผู้ป่วยที่
                  ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ฯ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพในขั้นตอนที่ 2 (2) แบบบันทึกผลลัพธ์
                  การดำเนินการฯ ตามตัวชี้วัด ค่ารักษา และระยะเวลาเข้ารับบริการ และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจ

                  ของผู้ป่วยและผู้ให้บริการ วิเคราะห์ข้อมูล : แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
                  และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม สถิติที่ใช้ : สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที : Independent
                  Sampling t-test

                         ระยะที่ 4 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบบริการฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล เป็นแพทย์พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย
                  ฯ จำนวน 31 คน กลุ่มเดียวกับระยะที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ : แบบประเมินประสิทธิผลของรูปแบบบริการฯ
                  วิเคราะห์ข้อมูล : ร้อยละ สถิติที่ใช้ : สถิติเชิงพรรณนา  โครงร่างการวิจัยนี้ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัย
                  ในมนุษย์จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เลขที่ COA 020-2022

                  ผลการศึกษา

                         1. ผลการสนทนากลุ่ม พบว่า (1) ปัญหาการให้บริการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แบบเดิม : ไม่สามารถ
                  ให้บริการแบบวันเดียวกลับได้ เนื่องจากจำเป็นต้องนัดหมาย เตรียมผ่าตัดวันก่อนผ่าตัด ผ่าตัดที่ห้องผ่าตัดใหญ่
                  ดมยาสลบ สังเกตอาการหลังผ่าตัด ซึ่งใช้ระยะเวลานอนโรงพยาบาลมากกว่า 24 ช.ม. (2) แนวทางการพัฒนา :
                  ปรับระบบโดยให้บริการแบบผู้ป่วยนอก ได้แก่ เจาะ lab Set ผ่าตัด ให้บริการเชิงรุก ณ จุดเดียว ใช้ระบบ

                  การแพทย์ทางไกล และให้กลับบ้านได้ในวันเดียวกัน กำหนดผู้ติดตามเยี่ยม
                         2. รูปแบบบริการฯ ที่พัฒนาขึ้น พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักคือ (1) เมื่อผู้ป่วยเข้ารับ
                  การตรวจที่ OPD/รพช. : ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อซักประวัติ/เจาะ lab ในผู้ป่วยที่เข้าบริการที่ รพช.
                  ส่วนผู้ป่วยที่ OPD ซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยศัลยแพทย์ เจาะ lab, X-ray, Set OR (ODS) ให้คำแนะนำ

                  โดยมีวิสัญญีให้บริการที่ OPD (2) ก่อนผ่าตัด : การส่งผู้ป่วยที่ห้องผ่าตัด ตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนผ่าตัด
                  (3) ระหว่างผ่าตัด : การดูแลระหว่างผ่าตัด และ (4) หลังผ่าตัด : ให้แนะนำโดย Nurse care manager สังเกต
                  อาการที่หอผู้ป่วย และติดตามเยี่ยมโดย Nurse care manager รายละเอียดตามภาพ
                         3. ผลลัพธ์จากการนำรูปแบบบริการฯ

                  ไปใช้กับผู้ป่วย 49 ราย พบว่า 1) ผลลัพธ์การ
                  ดำเนินการฯ ตามตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ทุกตัว : (1)
                  อัตราการเลื่อน/งดผ่าตัด ร้อยละ 0, (2) อัตรา

                  การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดจนไม่สามารถ
                  จำหน่ายได้ ร้อยละ 0, (3) อัตราการติดเชื้อที่แผล
                  ผ่าตัด ร้อยละ 0 และ (4) อัตรา re-admit
                  ภายใน 48 ชั่วโมงหลังจำหน่าย ร้อยละ 0 2)
                  ค่าใช้จ่ายในการรักษาแบบวันเดียวกลับเฉลี่ย 4,185.02 บาท/ราย ค่าใช้จ่ายฯ แบบเดิม 5,797.95 บาท/ราย

                  และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายฯ พบว่า การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แบบวันเดียวกลับมีค่าเฉลี่ย
                  ของค่าใช้จ่ายฯ ต่ำกว่าและแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ระยะเวลาการเข้ารับบริการแบบ
                  วันเดียวกลับเฉลี่ย 6.03 ช.ม./ราย ระยะเวลาฯ แบบเดิม 19.17
   653   654   655   656   657   658   659   660   661   662   663