Page 657 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 657

P34

                     การพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แบบวันเดียวกลับ
                                                     โรงพยาบาลกาฬสินธุ์


                                                        นายแพทย์ถนอมศิลป์ ก้านมะลิ, สะคราญจิตร คงพันธ์ และคณะ

                                                                              โรงพยาบาลกาฬสินธุ์  เขตสุขภาพที่ 7
                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                                                                                                            1
                         กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายขับเคลื่อนพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับมากว่า 5 ปี
                  เช่นเดียวกับโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ที่สมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2561 โดยจัดบริการตามโครงการจำนวน 17
                  หัตถการ สถิติการให้บริการ 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2563-2565) มีแนวโน้มลดลงแต่ผ่านเกณฑ์ คือดำเนินการได้
                  ร้อยละ 55.92, 48.61, และ 37.63 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19

                  การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เป็นหัตถการหนึ่งของ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ตามโครงการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ
                  โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ 10 ราย คิดเป็น   ร้อยละ 6 ต่อมาในปี 2564 และ 2565
                                                                2
                  จำนวนผู้ป่วยลดลงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19  ซึ่งการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่เดิมให้บริการแบบ
                  ผู้ป่วยในโดยนัดหมายล่วงหน้า นอนโรงพยาบาลคืนก่อนผ่าตัด ดมยาสลบระหว่างผ่าตัด สังเกตอาการที่หอ
                  ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ใช้เวลานอนโรงพยาบาลมากกว่า 24 ชั่วโมงต่อการทำหัตถการแต่ละครั้ง ในปี 2566
                  หลังพ้นระยะแพร่ระบาดหนักของ COVID-19 ผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ซึ่งมีทั้งผู้ป่วยใน
                  เขตเมืองและรับส่งต่อจากโรงพยาบาลลูกข่ายในจังหวัดที่ผลการตรวจ Fittest positive คณะผู้วิจัยจึงได้นำ
                  แนวคิด LEAN มาพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แบบวันเดียวกลับ โดยหวัง

                  ผลให้เกิดระบบบริการที่รวดเร็ว ลดระยะเวลารอคอย ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดแออัด และเพิ่มความพึงพอใจ
                  ทั้งของผู้ให้และผู้รับบริการ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         1. เพื่อวิเคราะห์ระบบบริการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แบบเดิม
                         2. เพื่อพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แบบวันเดียวกลับ รพ.กาฬสินธุ์

                         3. เพื่อนำรูปแบบบริการฯ ไปใช้และประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ (1) ผลลัพธ์การดำเนินการฯ
                  ตามตัวชี้วัด : เลื่อน/งดผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อ และ Re-admit (2) ความพึงพอใจของผู้ป่วย
                  และผู้ให้บริการ (3) ค่าใช้จ่ายในการรักษา และ (4) ระยะเวลาการเข้ารับบริการ

                         4. เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบบริการฯ ที่พัฒนาขึ้น

                  วิธีการศึกษา
                         เป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research and development) 4 ระยะ ดังนี้
                         ระยะที่ 1 วิเคราะห์ระบบบริการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ รพ.กาฬสินธุ์แบบเดิม และแนวทางการ
                  พัฒนา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้เกี่ยวข้องกับการส่องกล้องตรวจ

                  ลำไส้ใหญ่ รพ.กาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 17 คน ได้แก่ ศัลยแพทย์ 7 คน, พยาบาลคัดกรอง
                  ที่ OPD/ห้องผ่าตัด/วิสัญญี/ห้องส่องกล้อง 10 คน  เครื่องมือที่ใช้ : แนวทางการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับปัญหา
                  และแนวทางการให้บริการส่องกล้องตรวจลำไส้ วิเคราะห์ข้อมูล : วิเคราะห์เชิงเนื้อหา
                                                                                        3
                         ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบบริการฯ ตรวจสอบความเหมาะสม ความสอดคล้องของรูปแบบที่พัฒนา

                  โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ผลการประเมินความยากง่าย และความเป็นไปได้ของการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น
   652   653   654   655   656   657   658   659   660   661   662