Page 671 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 671
P48
วิธีการศึกษา
1. รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลรัตนบุรี
2. จัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนา
3. มีแนวทางการรักษามะเร็งแต่ละชนิด
3.1 มะเร็งเต้านม(Breast cancer) ตรวจคัดกรองด้วยตนเองและพบแพทย์ ,ตรวจ Ultrasound
และ mammogram ตรวจชิ้นเนื้อ และผ่าตัด ส่งต่อและให้ยาเคมีบำบัดและยาฮอร์โมน ปัจจุบันมี 2 รูปแบบ
ดังนี้ 1. telemedicine 2. ส่งต่อผ่านระบบ Thai Cancer Base
3.2 มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก(Colorectal cancer) การคัดกรองในกลุ่มความเสี่ยงต่ำและ
ปานกลางโดยตรวจ fit testถ้าผลตรวจ positiveเข้าสู่การส่องกล้อง(colonoscopy)และผ่าตัด กลุ่มความ
เสี่ยงสูงหรือมีอาการ เข้าสู่ระบบการส่องกล้อง (colonoscopy) และผ่าตัด
- การใช้ยาเคมีบำบัด และการฉายแสง มีรูปแบบคือส่งต่อเพื่อรับยาเคมีบำบัดที่โรงพยาบาลศูนย์
และtelemedicine กับศูนย์มะเร็งเพื่อรับยาเคมีบำบัดส่งยาออก
3.3 โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี : การคัดกรองด้วยultrasound และ CT scan และ ส่งต่อเพื่อ
ผ่าตัดและให้ยาเคมีบำบัด ดูแลประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีการจัดตั้งPain Clinic มีทีมดูแลแบบ
ประคับประคองและส่งต่อระบบการติดตามเยี่ยมบ้าน
ผลการดำเนินงาน
ผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปี 2564-2566 พบผู้ป่วยมะเร็งตับและทางเดินน้ำดีจากการคัดกรอง
CASCAP และจากผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติพบ 121 ราย เป็นผู้ป่วยระยะที่ผ่าตัดได้ 1 ราย ส่งต่อเพื่อผ่าตัด
โรงพยาบาลสุรินทร์ ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 26 ราย จากคัดกรอง fit test positive 339 ราย
(2565-2566) colonoscopy และตรวจชิ้นเนื้อพบ 5 รายและจากที่มีอาการมาโรงพยาบาลเอง 21 ราย ได้รับ
การผ่าตัดที่โรงพยาบาลรัตนบุรี 18 ราย เป็นผู้ป่วยระยะแพร่กระจาย 3 ราย รักษาแบบประคับประคองและ
ปฏิเสธการรักษา 2 ราย ส่งต่อเพื่อผ่าตัดที่โรงพยาบาลสุรินทร์ 3 รายเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านวิสัญญีและต้อง
ได้รับการฉายแสงก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยหลังผ่าตัดส่วนใหญ่เป็นระยะที่ 2 มีข้อบ่งชี้และยินยอมในการให้ยาเคมี
บำบัด(CMT) ชนิดกิน 2 รายผ่านระบบ telemedicine และส่งต่อเพื่อให้ยาเคมีบำบัดและฉายแสง 3 ราย
ปฏิเสธการให้ยา 2 ราย มะเร็งเต้านม 24 ราย ได้รับการผ่าตัด 19 ราย และส่งต่อเพื่อให้ยาเคมีบำบัดและฉาย
แสง เป็นระยะแพร่กระจาย 1 ราย ไม่สามารถให้ยาและผ่าตัดได้ และ ส่งต่อผ่าตัดที่โรงพยาบาลสุรินทร์ 4 ราย
อภิปรายผล
จากข้อมูลการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง 3 อันดับแรกในโรงพยาบาลรัตนบุรี ได้แก่ มะเร็งตับและทางเดินน้ำดี
(121 ราย) มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (26 ราย) มะเร็งเต้านม (24 ราย) พบว่ามะเร็งตับและท่อทางเดิน
น้ำดีส่วนใหญ่เป็นระยะที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ และรักษาแบบประคับประคอง รองลงมาคือมะเร็งลำไสใหญ่ ซึ้ง
ปัจจุบันสามารถตรวจพบได้เร็วขึ้นจากการตรวจ Fit test และการส่องกล้อง(colonoscopy)ทำให้สามารถ
ตรวจพบตั้งต่ระยะเริ่มต้นและเข้ารับการผ่าตัดได้ที่โรงพยาบาลชุมชนโดยไม่จำกัดว่าผู้ป่วยจะอยู่ในเขตอำเภอใด
สามารถมาตรวจคัดกรองที่โรงพยาบาลรัตนบุรีและผ่าตัด และส่งต่อให้ยาเคมีบำบัดต่อที่โรงพยาบาลสุรินทร์
หรือรับยาผ่านระบบ telemedicine ซึ้งผู้ป่วยได้รับโประโยชนือย่างมาก ,ส่วนมะเร็งเต้านมผู้ป่วยได้รับการ
ตรวจเต้านมด้วยตนเองและ Ultrasound Mammogram และเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลรตนบุรี หลัง
ผ่าตัดส่งให้ยาต่อที่โรงพยาบาลสุรินทร์ และผู้ป่วยทั้งหมดยังไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด