Page 670 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 670
P47
พัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งแบบไร้รอยต่อ
ในโรงพยาบาลรัตนบุรีจังหวัดสุรินทร์
(Development of cancer care system in Rattanaburi Hospital)
นายแพทย์พีรพงษ์ อินทร์เหลา, กรวิกา แก้วสุข
โรงพยาบาลรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เขตสุขภาพที่ 9
ประเภทวิชาการ
ความเป็นมาและคำสำคัญ (Introduction)
องค์กรอนามัยโลกพบว่ามะเร็งยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับ 1 ของโลก โดยพบว่ามะเร็งที่เสียชีวิต
มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประเทศไทย
พบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ประมาณ 140,000 คน/ปี โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่
มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปากมดลูก ซึ่งมี
แนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงมองเห็นความสำคัญเพื่อเร่งแก้ปัญหานี้
โรงพยาบาลรัตนบุรี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 120 เตียง (M2) รับผู้ป่วยได้จริง 137 เตียง
เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย รับผู้ป่วยจาก รพ.สนม รพ.โนนนารายณ์ รพ.ชุมพลบุรี รพ.บึงบูรณ์ (ศรีษะเกษ)
ศัลยแพทย์ 1 คน มีห้องผ่าตัด 4 ห้อง มีหอผู้ป่วยหนัก 8 เตียง ที่ผ่านมาผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งหมดถูกส่งต่อ
โรงพยาบาลสุรินทร์เพื่อรักษาและผ่าตัด ข้อมูล ปี 2564 ,2565,2566 พบผู้ป่วยที่วินิจฉัยเป็นมะเร็ง 3 อันดับ
แรก คือมะเร็งตับและท่อน้ำดี 37 , 52 , 32 ราย ตามลำดับ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 2,15,9 ราย
ตามลำดับ มะเร็งเต้านม 2,10,12 ราย ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวโรคมะเร็งในโรงพยาบาลรัตนบุรีมีแนวโน้ม
เพิ่มมากขึ้น หลังจากมีศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลรัตนบุรี จึงเริ่มมีการพัฒนาระบบการคัดกรองมะเร็ง ดูแล
รักษาและผ่าตัดในโรงพยาบาลชุมชนและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อให้ยาเคมีบำบัดและฉายแสงที่ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาล
จังหวัด ทั้งในรูปแบบ telemedicine และ ผู้ป่วยเดินทางเอง ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองและรักษาผ่าตัดที่รวดเร็ว
ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ลดการแพร่กระจาย และ ลดภาวะแทรกซ้อน ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และอัตราการรอดชีวิต
ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาและการเดินทาง เป็นการรักษาที่รวดเร็วและไร้รอยต่อ
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งในเขตบริการโรงพยาบาลรัตนบุรีได้รวดเร็วและ
มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยหลังผ่าตัดเพื่อรับยาเคมีบำบัดและฉายแสงกับศูนย์มะเร็ง
โรงพยาบาลสุรินทร์
3. เพื่อพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งและเพิ่มการเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็ว และปลอดภัย
4. เพื่อลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอย และลดค่าใช้จ่าย ในการส่งต่อรักษา(ผ่าตัด,ให้ยาเคมี
บำบัด)