Page 667 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 667

P44

                           2. ทบทวนแนวปฏิบัติเดิมและสำรวจปัญหาที่พบจากมุมมองของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละคน
                  ด้านรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้วิจัยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอผลลัพธ์ที่ได้
                  จากการสืบค้นข้อมูลต่อที่ประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพด้านศัลยกรรมประสาท และใช้วิธีการสนทนากลุ่ม

                  ระดมสมองวิเคราะห์รูปแบบการดูแลที่มีอยู่เดิม ปัญหา อุปสรรคต่างๆ
                         ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการออกแบบ (Design) และ ขั้นการพัฒนา (Development)
                           1. ทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ประสาทศัลยแพทย์ พยาบาล พยาบาลหอผู้ป่วยศัลยกรรมหลอดลือด

                  สมอง เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักโภชนาการ พยาบาลผู้รับผิดชอบ
                           2. ผู้วิจัยประชุมร่วมกับคณะทำงานโรคหลอดเลือดสมองแตก นำประเด็นปัญหาที่ได้จากการ
                  วิเคราะห์สถานการณ์ มาวางแผนพัฒนารูปแบบ
                         ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบที่พัฒนาไปใช้ขั้นการดำเนินการ (Implementation) ดำเนินการนำ

                  รูปแบบที่พัฒนาไปใช้ ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหลอดเลือดเลือดสมอง ระยะเวลาในการใช้ แนวพัฒนารูปแบบช่วง
                  ทำการศึกษาวิจัยผู้ป่วยแรกรับจนจำหน่าย( ประมาณ 1 เดือน) ทุกรายที่เข้าเกณฑ์
                         ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลลัพธ์(Evaluation) จากการดูแลผู้ป่วย โดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น  ดังนี้
                         ด้านผู้ป่วย  ติดตามผลลัพธ์จากเวชระเบียนผู้ป่วย แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย ,CT brain,อาการทางคลินิก

                  หลังจำหน่าย (ระยะทำการศึกษาวิจัยภายใน 1เดือน)โดยติดตาม มีภาวะเลือดออกซ้ำ (Rebleeding),ภาวะ
                  แรงดันในกะโหลกศีรษะสูง (IICP),ภาวะสมองบวม (Brain edema),การเกิดภาวะ Electrolyte Imbalance,
                  ภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (VAP),การเกิดแผลกดทับ (Pressure ulcer),การเกิดการติดเชื้อ
                  หลังผ่าตัด (SSI1),การเกิด DVTฃ

                         ด้านผู้ดูแล
                             1. แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองแตกของผู้ดูแลหลัก
                             2. แบบสอบถามความพึงพอใจใช้ข้อคำถามที่เกี่ยวกับความรู้สึก ความคิดเห็น และความพึงพอใจ

                  ของผู้ดูแลหลักต่อบริการทางการพยาบาล
                         ด้านทีมผู้ให้บริการ
                             1. การปฏิบัติตามแนวทาง ทีมสหสาขาวิชาชีพ
                             2. ความพึงพอใจของทีมสหสาขาวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดลือดสมองแตก

                  ผลการศึกษา

                           นำเสนอเป็น 2 ส่วนดังนี้
                           1.รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก โรงพยาบาลอุดรธานี
                               1.1 ขั้นตอนวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่าบุคลากรมีการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีความแตกต่างกัน
                  เนื่องมาจากความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และภาระงานของแต่ละคนที่แตกต่างกัน แผนการดูแลไม่ครอบคลุม
                  และขาดการประเมินการปฏิบัติตามแนวทาง มุ่งปฏิบัติ กิจกรรมเพื่อให้ทันกับเวลาเป็นการทำงานที่มุ่ง

                  ปริมาณงาน ไม่มีการวางแผนการดูแลร่วมกับสหสาขา
                             1.2 รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกประกอบไปด้วยหอผู้ป่วยศัลยกรรมหลอดเลือด
                  สมอง ,ทีมสหสาขาวิชาชีพ พยาบาลเจ้าของไข้ แผนการดูแลและแนวปฏิบัติทางคลินิก หลังพัฒนารูปแบบการ

                  ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกพยาบาลเจ้าของไข้รับผิดชอบ การประสานทีมสหสาขา ในการดูแลผู้ป่วย
                  ตามแนวปฏิบัติ สอนผู้ดูแลหลักผู้ป่วย และประสานแก้ปัญหาสามารถนำมาใช้ได้จริงทำให้ผลลัพธ์ในการดูแล
                  ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ดังตาราง ที่1
   662   663   664   665   666   667   668   669   670   671   672