Page 669 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 669

P46

                  การศึกษาครั้งนี้อธิบายได้ว่ารูปแบบพัฒนารูปแบบมีการกำหนดกิจกรรมที่ชัดเจน ในการปฏิบัติกิจกรรมของ
                  ทีมสหสาขาที่ชัดเจนใน  มีการติดตาม กำกับโดยพยาบาลเจ้าของไข้ในแต่ละวันให้สอดคล้องกับภาวะของโรค
                  ของผู้ป่วย ลดวันนอน จึงทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง

                         3.ผลลัพธ์ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองแตกของผู้ดูแลหลัก พบว่า กลุ่มหลังพัฒนา
                  รูปแบบมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองแตกมากกว่าก่อนพัฒนารูปแบบ
                         4. ด้านผู้ให้บริการ

                                การประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกในหอผู้ป่วยศัลยกรรม
                  หลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลอุดรธานี เป็นพยาบาลวิชาชีพมากที่สุดร้อยละ 75 รองลงมาได้แก่
                  นักกายภาพบำบัด/นักโภชนากร/เภสัชกร ร้อยละ25  ประสบการณ์ทำงานร้อยละ 70 น้อยกว่า 10ปี ผ่านการ
                  อบรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก ร้อยละ 55 และเคยมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอด

                  เลือดสมองมาก่อน ร้อยละ 75    การปฏิบัติตามแนวทาง ทีมสหสาขาวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร
                  นักกายภาพบำบัดและนักสังคมสงเคราะห์สามารถปฏิบัติตามแผนได้ร้อยละ 100  ความพึงพอใจของทีม
                  สหสาขาวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดลือดสมองแตก พบว่าโดยรวมระดับความพึงพอใจ
                  อยู่ในระดับมาก

                  อภิปรายผล

                         รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาล
                  อุดรธานีในแบบมีทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่พัฒนาแล้ว มีแผนการดูแลและแนวปฏิบัติทางคลินิก การประสานความ
                  ร่วมมือของทีมสหสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีพยาบาลเจ้าของไข้เป็นผู้ประสานการทำงาน แนวทางการแก้ปัญหา
                  สามารถนำมาใช้ได้จริงทำให้ผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น  ลดภาวะแทรกซ้อน

                  ลดวันนอนและค่าใช้จ่าย  ทีมสหสาขาวิชาชีพความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับมาก

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         1.ควรขยายผลไปยังโรงพยาบาลเครือข่าย ที่ส่งผู้ป่วยเข้าที่โรงพยาบาลอุดรธานีผู้ป่วยได้รับการดูแล
                  อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว  จะเกิดการเชื่อมโยงการดูแลระหว่างโรงพยาบาลเมื่อส่งกลับ ลดภาวะแทรกซ้อน

                         2. ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เช่น 6 เดือนหรือ 1ปีเพื่อดูความยั่งยืนของการใช้แนวปฏิบัติ
   664   665   666   667   668   669   670   671   672   673   674