Page 666 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 666
P43
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก
ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหลอดเลือดสมอง (Hemorrhagic stroke) โรงพยาบาลอุดรธานี
ศรีสุดา พรมสีชา
โรงพยาบาลอุดรธานี เขตสุขภาพที่ 8
ประเภท วิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
โรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhage stroke) พบประมาณร้อยละ 20-25 เป็นภาวะหลอดเลือด
สมองแตกเองโดยไม่ได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ การดูแลรักษาผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมองแตกการรักษาที่ได้รับ
จะเป็นการรักษาด้วยยาโดยไม่ผ่าตัดและการรักษาด้วยการ ผ่าตัดขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ศัลยกรรม
ประสาทและตามปริมาตรและตำแหน่งก้อนเลือดที่ออกของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยเข้ามารับบริการที่แผนกผู้ป่วย
นอกและอุบัติเหตุฉุกเฉินจะได้รับการคัดกรองและ ตรวจวินิจฉัย ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด
(Ischemic stroke) เข้ารับการรักษา ที่Stroke unit และถ้าตรวจวินิจฉัยพบว่ามีภาวะหลอดเลือดสมองแตก
จะได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหลอดเลือดสมอง กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาล
อุดรธานี ให้บริการผู้ป่วยทั้งในเขตพื้นที่และนอกเขตพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 8 จำนวนผู้ป่วย (ปีงบประมาณ
2563-2566) 596, 711, 336, และ811 คนและในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกที่ได้รับการผ่าตัดเปิด
กะโหลกศีรษะเป็นกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) ที่เป็นโรคที่ค่าใช้จ่ายสูง (High cost) โดยพบว่า ในผู้ป่วยโรค
หลอดเลือดสมองแตกที่ได้รับการผ่าตัดในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 296 ราย โดย มีวันนอนเฉลี่ยที่ 7.6 วัน
มากว่า Siriraj stroke center ปี2561 วันนอนเฉลี่ยน้อยกว่า7วัน จึงเห็นว่าผู้ป่วยใช้ระยะเวลา รักษานาน
(extended hospital stay) และพบยังว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกที่เข้ารับการ
รักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหลอดเลือดสมองแต่ละวันเฉลี่ยเท่ากับ 1,290 บาท ที่ผ่านมาการปฏิบัติการ
พยาบาลจะเป็นการดูแล ตามแผนการดูแลประจำวัน ไม่มีรูปแบบเฉพาะที่ชัดเจนมีการดูแลแบบแยกส่วนเฉพาะ
แพทย์และลักษณะการบริการเน้นที่งานมากกว่าการตอบสนองปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยเป็น
รายบุคคล มุ่งปฏิบัติ กิจกรรมเพื่อให้ทันกับเวลาเป็นการทำงานที่มุ่งปริมาณงาน บุคลากรมีการปฏิบัติการดูแล
ผู้ป่วยที่มีความแตกต่างกันเนื่องมาจากความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และภาระงานของแต่ละคนที่แตกต่างกัน
ขาดผู้นำในการติดตามรวมถึงการ ประสานงานระหว่างสหสาขาวิชาชีพ ส่งผลให้ผลลัพธ์การดูแลไม่มี
ประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกในแบบมีทีมสหสาขาวิชาชีพ
2. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกในผู้ป่วย
วิธีการศึกษา ขั้นตอนดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์(Analysis) การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก
แบ่งเป็น
1. ด้านผู้ป่วย ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากสรุปรายงานประจำปี หอผู้ป่วยศัลยกรรมหลอดเลือดสมอง ปี2565