Page 683 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 683
P60
28 เซนติเมตร และสูง 20 เซนติเมตร ซึ่งสามารถรองรับน้ำหนักและแขนในผู้ป่วยที่ตัวขนาดใหญ่ที่ล้นเตียง
ผ่าตัดได้และพบว่าไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยอีก อัตราความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงร้อยละ 100
การทำลายอวัยวะข้างเคียงเกิดร้อยละ 0 การสร้างมาตรฐาน ( Act ) นำที่เก็บแขนจัดท่าสำหรับผู้ป่วยผ่าตัด
เผยแพร่ให้แก่หน่วยงานอื่น ที่มีลักษณะงานคล้ายกัน เช่นผู้ป่วยผ่าตัดตา ผ่าตัดกระดูก ตัดต่อลำไส้ ที่ต้องจัดท่า
โดยเก็บแขนผู้ป่วย
ภาพขณะใช้งานนวัตกรรม /ผ่าตัด ทอลซิล ไทรอยด์ ผ่าตัด LAR ผ่านกล้อง และผู้ป่วยตัวใหญ่
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) แบบแผนการทดลองกึ่งทดลอง
(quasi-experimental design) ประชากรคือกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ตั้งแต่เดือน 1 ตุลาคม
พ.ศ.2565 ถึงเดือน 30 กันยายน พ.ศ.2566 มีจำนวน 140 ราย กลุ่มตัวอย่างทำการคัดเลือกการสุ่มอย่างง่าย
(Simple Random Sampling) จากประชากร 140 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม เข้ากลุ่มทดลอง 70 คน กลุ่มควบคุม
70 คน โดยจับคู่รายบุคคล (matched subjects) ตามลำดับทะเบียนการผ่าตัดเลขคู่ เลขคี่ โดยศัลยแพทย์
ทั้งหมดเป็นผู้ทำการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบบันทึกที่สร้างขึ้นเอง เพื่อเก็บข้อมูล โดยบันทึก
ภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดที่เกิดกับผู้ป่วย ในการใช้ผ่าตัดต่อครั้ง อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการจัดท่าผู้ป่วย
ภาวะแทรก-ซ้อนขณะผ่าตัดที่เกิดกับผู้ป่วย นำเสนอด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ
ความสัมพันธ์ทางสถิติใช้ Mann – whiteney utest โดยถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ (p-value <0.05)
ผลการศึกษา
จากผลการประเมินพบว่า ศัลยแพทย์ พยาบาล ผู้ใช้งานมีระดับความพึงพอใจในทุกรายการอยู่ที่ระดับ
มากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.00 – 4.90 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .428 - .802 อุปกรณ์ช่วยเก็บแขน
ผู้ป่วยผ่าตัดจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ลดอุบัติเหตุจากการจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัดได้ และสามารถลดภาวะแทรกซ้อน
เกิดขึ้นกับผู้ป่วยขณะผ่าตัดได้ เนื่องจากสามารถเก็บแขนผู้ป่วยแนบลำตัวได้ปลอดภัยซึ่ง เตียงผ่าตัดทั่วไป
จะไม่มีอุปกรณ์ที่ช่วยในการเก็บแขนแนบลำตัวได้ ใช้งานได้สะดวก มีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยและสะดวก
ต่อการนำไปใช้ประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ดีกับเครื่องมือพื้นฐานที่มีอยู่เดิม แข็งแรง ทนทาน
ใช้ได้หลายครั้ง สามารถปรับใช้ได้ตามชนิดของการผ่าตัด ล้างทำความสะอาดได้ง่ายและศัลยแพทย์และผู้ใช้งาน
พึงพอใจที่ได้ใช้ในระดับมากที่สุด เปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นขณะผ่าตัดโดยวิธีใช้ผ้าเก็บแขนผู้ป่วย
แบบดั้งเดิมและ ที่เก็บแขนจัดท่าสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดในการผ่าตัดในผู้ป่วย จำนวน 140 ราย ผลพบว่า การใช้
ระยะภาวะแทรกซ้อน และอุบัติเหตุจากการจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0001
อภิปรายผล
อุปกรณ์ที่เก็บแขนจัดท่าสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเป็นเครื่องมือแพทย์ที่สามารถลดการเกิดภาวะแทรก-ซ้อน
ที่เกิดกับผู้ป่วยขณะผ่าตัดได้ดี ลดอุบัติเหตุจากการจัดท่าผู้ป่วยและทำให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดสะดวกขึ้น พึงพอใจ
และลดการเลื่อนหลุดของสายน้ำเกลือ ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับยาระงับความรู้สึก และผู้ป่วยรู้สึกตัวขณะผ่าตัด
ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานและยาในการระงับความรู้สึก จากที่ต้องให้ยาระงับความรู้สึกใหม่ และต้องใช้เวลา
การผ่าตัดเพิ่มขึ้นและลดภาวะแทรกซ้อนที่กับผู้ป่วยทำให้เพิ่มต้นทุนในการนอนโรงพยา-บาลเพิ่มขึ้น คิดเป็นเงิน