Page 727 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 727
R4
Needle through Needle
เพิ่มประสิทธิภาพการรักษากระดูกหักบริเวณปลายนิ้ว ด้วยเข็มฉีดยา
นายแพทย์เทพรักษา เหมพรหมราช
. โรงพยาบาลสมุทรสาคร เขตสุขภาพที่ 5
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
อุบัติการณ์กระดูกหักทั้งหมดในร่างกายพบกระดูกปลายนิ้วหักมีจำนวนมากที่สุด กรณีที่กระดูกเคลื่อน
เอียงผิดรูป จำเป็นต้องจัดกระดูกเข้าที่แล้วยึดตรึงกระดูกโดยทั่วไปจะใช้ลวดยึดกระดูก (K-wire) ซึ่งการรักษา
จำเป็นต้องทำในห้องผ่าตัดโดยใช้เครื่องยิงลวด (Mini air drill) ใส่ k-wire (รูปที่ 1.1) เข้าไปยึดกระดูกซึ่งอุปกรณ์
ดังกล่าวมีราคาแพง มีเฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่และมีจำนวนจำกัดในโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยต้องเดิน
ทางไกล มีค่าใช้จ่ายมากใช้เวลานานก่อนจะได้รับการผ่าตัดรักษา นอกจากต้องอดทนต่อความเจ็บปวดเป็น
เวลานาน แล้วกรณีที่มีบาดแผลเปิดยังเพิ่มโอกาสติดเชื้ออีกด้วยมีการประยุกต์นำเข็มฉีดยา No.18 ใส่ด้วยมือ
เปล่าแทนการใช้ลวดยึดกระดูก แต่มีโอกาสผิดพลาดสูง
(รูปที่ 1.2) เนื่องจากกระดูกส่วนปลายด้านนอกแข็งและเป็นสันมีพื้นที่แคบ ทำให้ใส่ได้ยากไม่ได้ทิศทางตามที่
ต้องการ บางครั้งระหว่างการทำหัตถการปลายเข็มสะบัดทำให้บาดเจ็บต่อแพทย์ที่ทำการรักษา, ผู้ช่วย, หรือ
ผู้ป่วยตามมาเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ร้ายแรงจากโลหิต เช่น HIV, HBV เข็มฉีดยา No.22 มีขนาดเล็กกว่า
เข็ม No.18 โดยปลายเข็มที่ใหญ่กว่าสามารถใส่คลุมเข็มที่เล็กว่าได้ (รูปที่ 1.3) และกระดูกด้านในมีความนุ่ม (soft)
มากกว่าด้านนอก การใช้เข็ม No.22 ใส่จากกระดูกด้านในออกมาด้านนอกเป็นแกนนำน่าจะช่วยให้การใส่เข็ม
No.18 เข้าไปยึดกระดูกทำได้ง่ายขึ้น และควบคุมทิศทางได้ดีขึ้น
1.1 1.2 1.3
รูปที่ 1.1 การใช้ลวดยึดกระดูก (k-wire) รักษากระดูกหักบริเวณปลายนิ้วโดยใช้เครื่องยิงลวด
(Mini air drill) รูปที่ 1.2 การใช้เข็ม No.18 ยึดกระดูกปลายนิ้ว บริเวณส่วนปลายกระดูกที่แข็ง และเป็นมุมแหลม
การใส่เข็มทำได้ยากและมีโอกาสผิดพลาดบาดเจ็บสูง รูปที่ 1.3 เข็มฉีดยา No.22 มีขนาดเล็กกว่าเข็ม No.18
โดยปลายเข็ม No.22 สามารถใส่เข้าไปในปากเข็ม No.18 ได้