Page 729 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 729

R6


                  เวลาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 16 ชั่วโมง (12-28 ชั่วโมง) ใช้เวลาผ่าตัดเฉลี่ย 30 นาที (20-45 นาที) ค่าใช้จ่ายใน
                  การรักษาเฉลี่ย 4,300 บาท (4,000-5,000บาท) รักษาที่ห้องฉุกเฉิน 3 รายใช้เวลาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 2 ชั่วโมง
                  (1 ชั่วโมงครึ่ง-3 ชั่วโมง) ใช้เวลาผ่าตัดเฉลี่ย 30 นาที (20-45 นาที) ค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ย 1500 บาท

                  (1,200-2,000 บาท) เข็มฉีดยาสามารถยึดกระดูกได้ในตำแหน่งที่เหมาะสมทุกราย (รูปที่ 3.2) นำเข็มฉีดยาออก
                  ที่ 4 สัปดาห์ ภาพรังสีกระดูกมีการประสานกันเฉลี่ย 8 สัปดาห์ (6-12 สัปดาห์) มีผู้ป่วย 1ราย กระดูกหักที่นิ้ว
                  หัวแม่เท้า มีเลือดออกที่รูเข็มหลังผ่าตัด ได้นำเข็มออกแล้วใช้ aluminium splint ร่วมกับ buddy splint  พยุง
                  กระดูกต่อจนกระดูกติดดี ผู้ป่วยทุกรายบาดแผลหายเป็นปกติ ไม่พบการติดเชื้อหลังผ่าตัดรักษา












                  รูปที่ 3.1 – 3.3 ภาพรังสีกระดูกหักก่อนผ่าตัด ,หลังใส่เข็มฉีดยายึดกระดูก ,หลังการรักษา 6 สัปดาห์

                  อภิปรายผล
                         ในการศึกษานี้ผู้ป่วยที่รักษาที่ห้องผ่าตัดใช้เวลานานเนื่องจากต้องรอห้องผ่าตัด การผ่าตัดเป็นการผ่าตัด

                  เล็กจึงต้องรอทำต่อจากผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้ป่วยรายอื่นที่ผ่าตัดก่อนหน้านี้ ทำให้มีระยะเวลารักษาใน
                  โรงพยาบาลนาน การผ่าตัดโดยใช้ลวดยึดกระดูกต้องทำในห้องผ่าตัดเท่านั้น ใช้เวลาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 20 ชั่วโมง
                   (18-30 ชั่วโมง) ค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ย 11,200 บาท (10,500-13,000 บาท)






                  โดยระยะเวลาที่ใช้ในโรงพยาบาลการรักษาด้วย Needle through Needle ที่ห้องฉุกเฉินน้อยกว่าการรักษา
                  ด้วย K-wire ในห้องผ่าตัดถึง 6 เท่า และค่าใช้จ่ายน้อยกว่าถึง 8 เท่า

                  สรุปและข้อเสนอแนะ
                         การรักษากระดูกปลายนิ้วหักด้วยวิธี Needle through Needle เป็นวิธีที่ปลอดภัยทำได้ง่ายและ

                  ได้ผลดี  การผ่าตัดสามารถทำได้ทั้งในห้องผ่าตัดและห้องฉุกเฉิน โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษเพิ่มเติม สามารถ
                  ทำได้ในโรงพยาบาลขนาดเล็ก และในคลีนิคที่มีอุปกรณ์เย็บแผลได้ เป็นผลดีต่อผู้ป่วยที่จะได้การรักษาที่รวดเร็ว
                  ประหยัดเวลา อย่างไรก็ดีเนื่องจากเข็มฉีดยามีรูตรงกลางทำให้มีโอกาสที่พบปัญหาเลือดออกตามรูเข็มได้แม้ว่า
                  จะใช้การดัดเข็มส่วนปลายให้แคบแล้วตัดออกก็ตาม หลังรักษาควรแนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตบาดแผล หากมี

                  เลือดออกมากผิดปกติ ให้ผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล นอกจากนี้วิธี Needle through Needle อาจนำไป
                  ปรับใช้กับการยึดกระดูกบริเวณอื่นได้อีกด้วย
   724   725   726   727   728   729   730   731   732   733   734