Page 728 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 728

R5


                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         ศึกษาการใช้เข็มฉีดยายึดกระดูกบริเวณปลายนิ้วด้วยวิธี “Needle through Needle” โดยใช้มือเปล่า
                  ใส่เข็มฉีดยา No.22 ใส่จากโพรงกระดูกด้านในออกมาด้านนอก เป็นแกนให้ใส่เข็ม No.18 จากด้านนอกเข้าไป
                  ด้านในเพื่อยึดกระดูกให้ได้ตามแนวที่ต้องการ

                  วิธีการศึกษา
                         การศึกษาทำที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร ระหว่างเดือนมกราคม 2566 - ธันวาคม 2566 ผู้ป่วยที่
                  กระดูกหักบริเวณปลายนิ้วที่กระดูกเคลื่อน เอียง ไม่สามารถพยุงกระดูกให้ได้แนวด้วยการพยุงนิ้วจากด้านนอก

                  ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น Aluminium splint, Buddy splint หรือมีแผลเปิด (Open fracture) ที่จะต้องทำความ
                  สะอาดบาดแผลร่วมด้วย จะได้รับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ (2% Lidocaine 3-5 ml.)
                  ฉีดบริเวณโคนนิ้วระงับอาการปวด ทำความสะอาดบริเวณนิ้ว การยึดกระดูกทำโดยใช้ เข็ม No.22 ใส่จากด้าน
                  ในโพรงกระดูกออกมาด้านนอก แล้วใช้เข็ม No.18 ใส่ตามแนวเข็ม No.22 เข้าไปด้านในเพื่อยึดกระดูกให้เข้าที่

                  ตามแนวที่ต้องการ (รูปที่ 2.1-2.6) ให้ยาปฏิชีวนะทานต่อ 5 วัน หลังผ่าตัดรักษา เก็บข้อมูล อายุ สาเหตุที่
                  บาดเจ็บ ระยะเวลาที่ใช้รักษาในโรงพยาบาล ระยะเวลาที่ใช้ในการทำผ่าตัดรักษา ภาพรังสีหลังจากการยึด
                  กระดูก ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา การติดของกระดูก และการหายของแผล

                  (รูปที่ 2.7)











                                   2.1                2.2                  2.3                    2.4












                                  2.5                 2.6                   2.7


                         รูปที่ 2.1 ผู้ป่วยกระดูกปลายนิ้วชี้ซ้ายหัก ร่วมกับมีบาดแผลบริเวณปลายนิ้ว (Open fracture distal
                  phalanx left index)
                         รูปที่ 2.2 การใส่เข็ม No.22 จากด้านในออกมาด้านนอก
                         รูปที่ 2.3 ใช้เข็ม N0.18 ใส่จากด้านนอกไปด้านในโดยใช้เข็ม No.22 เป็นแกน

                         รูปที่ 2.4 กระดูกปลายนิ้วหักที่ถูกตรึงด้วยเข็ม No.18
                         รูปที่ 2.5 - 2.6 ปลายนิ้วหลังจากยึดกระดูกและเย็บซ่อมฐานเล็บ เล็บและผิวหนัง
                         รูปที่ 2.7 ปลายนิ้วที่ 6 สัปดาห์หลังการรักษา


                  ผลการศึกษา
                         ผู้ป่วยจำนวน 15 ราย กระดูกหักบริเวณปลายนิ้วมือ 12 ราย ปลายนิ้วเท้า 3 ราย อายุเฉลี่ย 43 ปี (7-52 ปี)
                  บาดเจ็บจากการทำงาน 5 ราย กิจวัตรประจำวัน 3 ราย อุบัติเหตุจราจร 4 ราย รักษาที่ห้องผ่าตัด 12 ราย ใช้
   723   724   725   726   727   728   729   730   731   732   733