Page 730 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 730
R7
นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ทุ่นแรงง่าย สบายแขน/ขา
นายมนูญ คุณพรม ,นางสาวสุวิภา สุริเตอร์
โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เขตสุขภาพที่ 10
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัยได้เปิดให้บริการทำผ่าตัดศัลยกรรมกระดูกและข้อ
มาตั้งแต่ปี 2563 และมีจำนวนผู้รับบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2563 – 2565 จำนวน 200 ,322 และ 416
รายตามลำดับ มีการพัฒนางานตามปัญหาจากการทำงานในแต่ละขั้นตอนรวมถึงพบว่าในระยะการเตรียม
ผิวหนังบริเวณผ่าตัดในขั้นตอนการฟอกทำความสะอาดจะต้องจัดท่าให้ง่ายและสะดวก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
จากการจัดท่าผ่าตัด โดยใช้บุคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่ามากที่สุดซึ่งในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด
ในขั้นตอนการฟอกทำความสะอาดบริเวณผ่าตัดเป็นหนึ่งในบทบาทของพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด วิธีการเดิมให้
พยาบาลห้องผ่าตัดหรือผู้ช่วยเหลือคนไข้ช่วยยกแขนหรือขาข้างที่จะทำผ่าตัด เพื่อให้สามารถฟอกทำความ
สะอาดบริเวณผ่าตัดได้สะดวก แต่พบปัญหาว่าเสียเวลาและไม่สะดวก ซึ่งพยาบาลห้องผ่าตัดมีจำกัดไม่สามารถ
ไปเตรียมเครื่องมือหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ขั้นตอนการฟอกทำความสะอาดบริเวณผ่าตัดจะต้องช่วยยกแขนหรือ
ขาผู้ป่วยในการฟอกทำความสะอาด จากประเด็นดังกล่าวจึงได้รวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์ โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อทุ่นแรงและให้การปฏิบัติงานได้สะดวกขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้จริงผู้ใช้มีความพึงพอใจและ
นำมาสู่คุณภาพของการให้บริการ
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกช่วยในการยกแขนหรือขาผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดบริเวณ
ปลายแขนหรือปลายขา
2. เพื่อลดภาระงานพยาบาลห้องผ่าตัด หรือผู้ช่วยเหลือคนไข้ที่ต้องยกแขนหรือขาของผู้ป่วยที่เข้ารับการ
ผ่าตัด
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดบริเวณปลายแขนหรือปลายขาที่แผนกห้องผ่าตัดศัลยกรรมกระดูกและข้อ
โรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เดือนมีนาคม - เมษายน 2566 จำนวน 30 ราย
วิธีการศึกษา
ดำเนินงานตามขั้นตอน PDCA ดังนี้
1. Plan ทบทวนและวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสพัฒนาร่วมกับทีมผ่าตัดพบว่าสาเหตุที่สำคัญ คือ พยาบาล
ห้องผ่าตัดหรือผู้ช่วยเหลือคนไข้ไม่สะดวกในการยกแขนหรือยกขาผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดบริเวณปลายแขน
หรือปลายขา
2. Do วางแผนพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์อำนวยความสะดวกช่วยในการยกแขนหรือขา
ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดบริเวณปลายแขนหรือปลายขาโดยมีวิธีการ คือ