Page 70 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 70
A46
วิธีการศึกษา
การศึกษาเชิงวิเคราะห์ย้อนหลัง (Retrospective analytical study)ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิดเอสที ยกสูง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เจ้าพระยาอภัยภูเบศรเข้ารับการรักษา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2565 จำนวน 290 ราย
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เวชระเบียนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสที ยกสูง ที่เข้ารับการรักษา
ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เข้ารับการรักษา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2565
จำนวน 285 ราย มีเกณฑ์คัดเข้า คือ เวชระเบียนข้อมูลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิดเอสทียกสูง
ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เข้ารับการรักษาตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2562–
30 กันยายน 2565 ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสที ยกสูงและมีข้อมูล
ส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ, อายุ, First Medical Contact (FMC), Body Mass Index (BMI), NonCommunicable
Communicable Disease (NCD) ครบถ้วน เกณฑ์คัดออก คือ เวชระเบียนข้อมูลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
เฉียบพลัน ชนิดเอสที ยกสูงฯ ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าไม่ได้เป็นผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด
ST-segment ยกสูง หรือผู้ป่วยที่ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ, อายุ, First Medical Contact (FMC), Body
Mass Index (BMI), Non Communicable Disease (NCD) ไม่ครบถ้วนอย่างใดอย่างหนึ่ง เลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบเฉพาะเจาะจง
ผลการศึกษา
ผลงานวิจัยจากข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 75.78
ครึ่งหนึ่ง มีอายุน้อยกว่า 59 ปี ร้อยละ 50.9 (Mean=60.45,SD 13.90) ส่วนใหญ่ไม่เสียชีวิต ร้อยละ 87.0
กว่าครึ่งหนึ่งมี First Medical Contact (FMC) น้อยกว่า 121 นาที ร้อยละ 59.3 และไม่มี Non Communicable
Disease (NCD) ร้อยละ 57.2
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST-segment ยกสูง
พบว่า ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST-segment ยกสูงที่เข้ารับบริการจากโรงพยาบาล
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เพศหญิงมีโอกาสตายมากกว่าเพศชาย 2.49 เท่า (AOR=2.49) ,P=0.18 ผู้สูงอายุ
มีโอกาสตายมากกว่าผู้ที่อายุน้อยกว่า 60 ปี 4.37 เท่า (AOR=4.37,P=.001) ผู้ที่มี FMC ≥121 นาที มีโอกาส
ตายมากกว่า FMC < 121 นาที 2.09 เท่า (AOR=2.09, P=0.049)
อภิปรายผล
จากผลการศึกษาพบว่า เพศหญิง ผู้สูงอายุและผู้ที่มี First Medical Contact ≥121 นาที มีโอกาส
ตายมากกว่าเพศชายที่ไม่สูงอายุและผู้ที่มี First Medical Contact <121 นาที ทั้งนี้อาจเพราะเพศหญิง
จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือนหรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
เพิ่มขึ้น เพราะโดยปกติฮอร์โมนเพศหญิงจะช่วยลดระดับไขมันไม่ดีและเพิ่มระดับไขมันที่ดีในเลือดป้องกันไม่ให้
ไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายยืดหยุ่นเมื่อขาดฮอร์โมนเพศหญิงจึงส่งผลให้เกิด
ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวหรืออุดตันได้ทั่วร่างกายรวมไปถึงหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งยังไม่พบการศึกษาในปัจจัยนี้
โดยเฉพาะ ส่วนในผู้สูงอายุ เมื่ออายุยิ่งเพิ่มขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด หรือหลอดเลือดเกิดการ
เสื่อมสภาพตามวัยโดยผนังหลอดเลือดจะเปราะและแข็งเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการศึกษาความชุกและปัจจัย
ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI ในผู้สูงอายุ และผู้ที่มี First Medical
Contact โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดเอสทียกสูง เป็นภาวะที่หลอดเลือดหัวใจถูกลิ่มเลือด
อุดตันโดยสิ้นเชิงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ระยะเวลาที่ล่าช้าจะส่งผลให้ผู้ป่วย