Page 69 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 69

A45


                  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิดเอสที ยกสูง

                                     ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร


                                                                                          นางสาววนิดา อินทชิต
                                                     โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เขตสุขภาพที่ 6

                                                                                               ประเภท วิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย
                           ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (ST elevation acute coronary syndrome) หมายถึง ภาวะที่มี

                  ลิ่มเลือดอุดกั้นสมบูรณ์ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้  การทำงานของหัวใจลดลง เกิดภาวะ
                  Cardiogenic shock ในที่สุด หากไม่ได้รับการปิดเส้นเลือดที่อุดตันในเวลาอันรวดเร็ว (จันทรัศม์ บุญมี, 2564)
                  จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบอัตราการเสียชีวิตทั่วโลกมีสาเหตุสำคัญจากโรคหัวใจ

                  และหลอดเลือดมากถึงร้อยละ 32 หรือประมาณ 17.9 ล้านคน (องค์การอนามัยโลก, 2561) ข้อมูลจาก THAI
                  ACS Registry ทั้งประเทศ พบว่าประชากรไทยมีการตายของผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาลร้อยละ 9.05
                  (กรมการแพทย์สถาบันโรคทรวงอก, 2565) และจากสถิติโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พบว่าอัตรา
                  การตายของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ปีงบประมาณ 2563-2565 อัตราการตาย
                  คิดเป็นร้อยละ 11.92, 11.24 และ 13.92  ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ การทราบปัจจัยเกี่ยวข้อง

                  กับการตายจึงเป็นสิ่งสำคัญ
                           แม้จะพบว่ามีแนวโน้มอัตราการตายของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดเอสทียกสูง
                  สูงขึ้น แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยศึกษาหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตายของผู้ป่วย STEMI ที่มารับบริการ

                  จากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า Yan et al. (2023) ศึกษาเรื่อง
                  systematic review and meta-analysis (Yan et al, 2023) ผลการศึกษาพบว่าการมีอายุมาก (OR=3.89),
                  เพศหญิง (OR=2.01), การมีหัวใจหยุดเต้นก่อนมาโรงพยาบาล (OR=5.55), Cardiogenic shock (OR=4.48),
                  DM (OR=1.8), delay in symptom onset-to-door time (FMC) (OR = 1.29), และงานวิจัยลักษณะ

                  ที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรงพยาบาลลำพูน โดย ณัฐวิทย์
                  คหวัฒน์ธรางกูร (2548) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเป็นผู้ชายร้อยละ 55.3, เป็นหญิงร้อยละ 44.7 มีอายุเฉลี่ย
                  63.5 ปี, ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นแบบ STEMI ร้อยละ 76.7, อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 21.6 ลักษณะที่
                  เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยแบบมีนัยสำคัญคืออายุมาก ความดันโลหิตต่ำ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

                  ไตเสื่อม ภาวะซีด ภาวะช็อค
                           จากแนวโน้มอัตราการตายของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสที ยกสูง ที่มา
                  รับบริการจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรที่สูงขึ้น และผลการวิจัยจากการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าว
                  ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตายในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

                  ชนิดเอสทียกสูง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรโดยการศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วย
                  โดยคาดหวังว่าผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ป้องกัน
                  และลดอัตราตายในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสที ยกสูง ในจังหวัดปราจีนบุรีต่อไป

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                           เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การตายในโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดดอสที ยกสูง
                  ในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74