Page 753 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 753
S8
ผู้ป่วยในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ที่ดูแลรักษาแบบประคับประคอง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.8
ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 65 ปี (72.4%) ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา (93.6%) ไม่ได้ประกอบอาชีพ
(54.8%) โรคที่ทำให้ได้รับการดูแลด้วยกัญชาทางการแพทย์มากที่สุด คือ มะเร็งปอดระยะสุดท้าย (22.6%)
Palliative Performance Scale ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 40-50 คะแนน (54.8%) ส่วนใหญ่ใช้น้ำมันกัญชา
THC:CBD (1:1) (54.8%) ในส่วนคุณภาพชีวิต (EQ-5D-5L) พบว่าค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิต ก่อนการบริบาล
ทางเภสัชกรรม คือ 0.282, หลังการบริบาลทางเภสัชกรรมครั้งที่ 1 และ 2 คือ 0.348 และ 0.283 ตามลำดับ
ด้านปัญหาที่เกี่ยวกับยาก่อนเริ่มการบริบาลทางเภสัชกรรม พบร้อยละ 35.48, หลังการบริบาลทางเภสัชกรรม
ครั้งที่ 1 และ 2 พบร้อยละ 19.35 และ 3.2 ตามลำดับ อาการไม่พึงประสงค์ที่พบในการศึกษาพบทั้งหมดร้อยละ 9.6
ได้แก่ ผื่นลมพิษ คลื่นไส้ อาเจียน และ เวียนศีรษะ โดยการจัดการเมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์ มีการหยุดยา
ร้อยละ 66.67 และ ลดขนาดยา ร้อยละ 33.33 ความพึงพอใจของผู้ป่วยพบว่าในภาพรวมของผู้ป่วยที่มีต่อ
เภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรมอยู่ในระดับมาก ( =2.74)
อภิปรายผล
จากข้อมูลพบว่าค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตก่อนเริ่มการบริบาลทางเภสัชกรรม คือ 0.282, หลังการ
บริบาลทางเภสัชกรรมครั้งที่ 1 และ 2 คือ 0.348 และ 0.283 ตามลำดับ โดยที่ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิต
หลังการบริบาลทางเภสัชกรรมครั้งที่ 1 ดีกว่าค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตก่อนเริ่มการบริบาลทางเภสัชกรรม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ค่า p-value = 0.003 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของสลักจิต วรรณโกษิตย์ (2566)
ที่พบว่ามีคุณภาพชีวิตดีขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.6 และผลการศึกษาของ ศักดิ์ชาย ขัติยา (2565) ที่พบว่าหลังการ
พัฒนาระบบบริบาลทางเภสัชกรรมคุณภาพชีวิตเฉลี่ยดีขึ้น (p = 0.322) ปัญหาที่เกี่ยวกับยาก่อนเริ่มการบริบาล
ทางเภสัชกรรมพบร้อยละ 35.48, หลังการบริบาลทางเภสัชกรรมครั้งที่ 1 และ 2 พบร้อยละ 19.35 และ 3.2
ตามลำดับ โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา รองลงมาคือ รูปแบบยาไม่เหมาะสม
และเมื่อให้การบริบางทางเภสัชกรรม พบว่าปัญหาที่เกี่ยวกับยาลดลง และไม่พบปัญหารูปแบบยาไม่เหมาะสม
ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ศักดิ์ชาย ขัติยา (2565) โดยสาเหตุของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมผู้ป่วย
ไม่เหมาะสม (32.20%) และสอดคล้องกับการศึกษาของแก้วกาญจน์ รุ่งเรือง (2554) ที่พบว่า จำนวนปัญหา
ที่เกี่ยวกับการใช้ยาหลังการบริบาลทางเภสัชกรรมมีจำนวนลดลง จะเห็นได้ว่าการบริบาลทางเภสัชกรรม
ของเภสัชกร ทำให้ปัญหาที่เกี่ยวกับยาลดลงอย่างชัดเจน ส่งผลให้ได้ผลการรักษาที่ถูกต้องและสามารถ
เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ และความพึงพอใจของผู้ป่วยในภาพรวมที่มีต่อเภสัชกรอยู่ในระดับมาก
สอดคล้องกับการศึกษาของ ศักดิ์ชาย ขัติยา (2565) ที่พบว่า หลังการพัฒนาระบบบริบาลทางเภสัชกรรม
ความพึงพอใจเฉลี่ยภาพรวมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปและข้อเสนอแนะ
การบริบาลทางเภสัชกรรมสามารถลดปัญหาจากการใช้กัญชาทางการแพทย์ได้ ทำให้คุณภาพชีวิต
ของผู้ป่วยดีขึ้น จำนวนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาลดลง และผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากขึ้น และควรมีการ
พัฒนาแนวทางการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกกัญชาทางการแพทย์เพิ่มเติม โดยการให้การความรู้แก่ผู้ป่วย
ญาติหรือผู้ดูแล ประเมินความรู้ที่ผู้ป่วยได้รับเพื่อให้ใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย นอกจากนี้
ควรเพิ่มการใช้สื่อ คลิป วีดีโอที่น่าสนใจในการให้ความรู้ และประเมินความพึงพอใจต่อการบริบาลทาง
เภสัชกรรมในคลินิกกัญชาทางการแพทย์