Page 754 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 754
S9
การเปรียบเทียบความสามารถในการลดปวดในผู้ป่วยประคับประคองที่ได้รับน้ำมันกัญชา
ร่วมกับยาบรรเทาปวดมาตรฐานกับการได้รับยาบรรเทาปวดมาตรฐานเพียงอย่างเดียว
นายนพดล เทียมศักดิ์ เภสัชกรชำนาญการ
นางอัญชนา บุญนิธิพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
โรงพยาบาลแพร่ เขตสุขภาพที่ 1
ประเภทวิชาการ
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
ปัจจุบันมีการใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อจัดการความปวดเพิ่มขึ้น แต่ยังพบว่ามีหลักฐานเชิงประจักษ์
ที่ขัดแย้งกัน ในต่างประเทศมีการศึกษาสารสกัดกัญชาหรือสารสังเคราะห์กัญชา เพื่อทดสอบประสิทธิผล
ทางการรักษา รวมถึงผลในการควบคุมความปวด โดยส่วนประกอบหลักของกัญชา คือ Δ9 tetrahydrocannabinol
(THC) ที่มีกลไกการออกฤทธิ์ระงับปวดที่ยังไม่ทราบแน่ชัด จึงต้องการศึกษาผลการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง
ในด้านการจัดการความปวด ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อย โดยเปรียบเทียบการใช้กัญชาทางการแพทย์ ร่วมกับ
ยาบรรเทาอาการปวดมาตรฐาน เทียบกับการได้ยาบรรเทาอาการปวดมาตรฐานเพียงอย่างเดียว
วัตถุประสงค์การศึกษา
ศึกษาระดับความปวดที่ลดลง ระหว่างผู้ป่วยประคับประคอง กลุ่มที่ได้รับน้ำมันกัญชาร่วมกับ
ยาบรรเทาอาการปวดมาตรฐาน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาบรรเทาอาการปวดเพียงอย่างเดียว
วิธีการศึกษา
ประชากร
ประชากร คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกประคองรักษ์ และคลินิกกัญชาทางการแพทย์
โรงพยาบาลแพร่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2565
การแบ่งกลุ่มประชากร
1) กลุ่มที่ได้รับยารักษามาตรฐานสำหรับบรรเทาอาการปวด (Standard group) ประกอบด้วย
Morphine, Fentanyl, Tramadol, Codeine + Paracetamol, Gabapentin, Pregabalin, Amitriptyline,
Naproxen หรือ Paracetamol
2) กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยน้ำมันกัญชา ร่วมรับยารักษามาตรฐานสำหรับบรรเทาอาการปวด
(Combined group)
เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
1) น้ำมันหมอเดชา, น้ำมันกัญชา THC 1.7 % อภัยภูเบศร, น้ำมันกัญชา THC:CBD (2.7% : 2.5%)
THC:CBD = 1 : 1 อภัยภูเบศร
2) ยาบรรเทาปวดมาตรฐาน ประกอบด้วย Morphine, Fentanyl, Tramadol, Codeine +
Paracetamol, Gabapentin, Pregabalin, Amitriptyline, Naproxen หรือ Paracetamol
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล