Page 763 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 763

S18


                           การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อการเข้าถึงตำรับยา
                         กัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม


                                              ศุภนิดา  ทองดวง พท.บ. ,นิยากร อินทะขัน พย.บ. และชัชวาล โสดาภักดิ์ ภ.บ.

                                                              โรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
                                                                                                เขตสุขภาพที่ 7

                                                                                                                    ประเภทวิชาการ

                  ความสำคัญของปัญหาวิจัย

                         การดูแลแบบประคับประคอง คือ การดูแลที่มีมุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว
                  โดยลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ รักษาควบคู่กับการรักษาหลัก จะมีส่วน
                  ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวโรค เข้าใจการพยากรณ์ของโรค เข้าใจการรักษา และเข้าใจถึงผลประโยชน์ และความ

                  เสี่ยงจากการรักษา และช่วยให้ผู้ป่วยตัดสินใจในการรับการรักษาได้ดียิ่งขึ้น โดยคำนึงถึงผู้ป่วยและครอบครัว
                  ร่วมด้วยเสมอ ปัจจุบันการให้บริการส่วนใหญ่เป็นแบบตั้งรับในสถานบริการ ส่งผลให้ผู้ป่วยแบบประคับประคอง
                  ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงบริการได้ลำบาก ผู้ป่วยที่ขาดการเข้าถึงบริการ ไม่ได้รับการดูแลและจัดการอาการ
                  อย่างเหมาะสมส่งผลให้ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จึงมีความจำเป็นต้องมีการ

                  พัฒนากระบวนการบริการเชิงรุกในชุมชน เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น ได้รับการดูแล
                  รักษาที่รวดเร็วตามมาตรฐานอย่างมีคุณภาพ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ปัญหาที่พบบ่อยในช่วงการ
                  ดูแลในระยะท้ายของชีวิต ได้แก่ อาการปวด อาการอ่อนเพลีย อาการเบื่ออาการ อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการ
                  ท้องผูก อาการนอนไม่หลับ โดยในผู้ป่วยระยะท้าย ผู้ป่วยบางคนอาจมีปัญหาทางกายหลายอย่างร่วมกัน

                  ปัจจุบันมีตำรับยากัญชาทางการแพทย์เข้ามาใช้ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในการบรรเทาอาการ
                  ดังกล่าวมากยิ่งขึ้น ซึ่งตำรับยากัญชาทางการแพทย์ตำรับยากัญชาทางการแพทย์เป็นทางเลือกที่สามารถ
                  ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะประคับประคองได้ ทางโรงพยาบาลนาเชือก
                  จึงได้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองจึงได้จัดตั้งคลินิกกัญชาทางการแพทย์ขึ้น

                  แต่ยังขาดการเข้าถึงการรับบริการของผู้ป่วยที่ต้องการเข้ารับบริการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่กระจายของ
                  โรคโควิด19 จึงทำให้ผู้มารับบริการลดลง ขาดการประชาสัมพันธ์ในแหล่งชุมชน และการดูแลผู้มารับบริการ
                  ไม่ทั่วถึง ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นคณะผู้วิจัยจึงตัดสินใจดำเนินการจัดทำรูปแบบการพัฒนารูปแบบการดูแล

                  ผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อการเข้าถึงตำรับยากัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก
                  จังหวัดมหาสารคามขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรับบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา
                         เพื่อการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อการเข้าถึงตำรับยากัญชาทางการแพทย์
                  โรงพยาบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

                  วิธีการศึกษา
                         การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้

                         1) ระยะการวิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
                  ต่อการเข้าถึงตำรับยากัญชาทางการแพทย์ ประชากรเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้อง
                  กับการให้คำปรึกษาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองต่อตำรับยากัญชาทางการแพทย์ จำนวน 30 คน และ

                  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 18 คน ประกอบด้วยแพทย์ 1 คน เภสัชกร 1 คน พยาบาล
   758   759   760   761   762   763   764   765   766   767   768