Page 775 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 775

T1



                                             ระบบบริการบ้านชีวาภิบาลในผู้ป่วยสูงอายุ

                                 ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจระยะยาวควบคู่กับการแพทย์ทางไกล
                                                  แพทย์หญิงลลิต์ภัทร ถิรธันยบูรณ์ ,น.ส.รัชนินทร สาธุเสน,นางปองไพลิน
                                                                                  แก้วโมรา ,น.ส.กัลยา แก้วสีเขียว
                                                                          โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

                                                                                      จังหวัดตาก เขตสุขภาพที่ 2
                                                                                               ประเภทวิชาการ


                  ความสำคัญของปัญหา
                               โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ให้บริการสุขภาพครอบคลุมทั้ง
                  ด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก มีประชากร

                  101,565 คน เป็นผู้สูงอายุร้อยละ26  พัฒนาทางการแพทย์ที่ดีขึ้นทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้นแต่คุณภาพ

                  ชีวิตกลับส่วนทาง ทุกครั้งที่เกิดการเจ็บป่วยการฟื้นตัวจะลดลงเข้าสู่ภาวะพึ่งพิง ปัจจุบันโรงพยาบาลมีผู้ป่วย
                  สูงอายุที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยปีงบประมาณ  2565 มีผู้สูงอายุที่ไม่สามารถ

                  หย่าเครื่องช่วยหายใจได้จำนวน 16 ราย ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อราย 101,235 บาท   ค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนต่อเดือน
                  ประมาณ20,000-25,000 บาท นอกจากนี้ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในโรงพยาบาลโดยเฉพาะการติดเชื้อใน

                  กระแสเลือดและเสียชีวิต ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลแย่ลง

                         การพัฒนาบ้านชีวาภิบาลสำหรับผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจระยะยาว (Ventilator
                  machine Home Care) เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ กาย จิตใจ อารมณ์

                  สังคมและจิตวิญญาณอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้าน เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญในการใช้เทคโนโลยี
                  ทางการแพทย์และการนำระบบการแพทย์ทางไกลมาช่วย ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเรื้อรัง  ที่ไม่

                  สามารถหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้านได้ถูกต้อง  ไม่เกิด

                  ภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาของ
                  ครอบครัว


                  วัตถุประสงค์
                         1. เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสูงอายุระยะพึ่งพิงและครอบครัว
                         2. เพื่อเตรียมความพร้อม สร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นแก่ผู้ดูแล
                         3.  เพื่อบูรณาการระบบการดูแลระยะยาวที่บ้าน  (LTC  Home  care)  ผ่านทางงานทุติยภูมิ  และงาน

                  ปฐมภูมิโดยนำระบบการแพทย์ทางไกลมาช่วย

                  วิธีการศึกษา
                         กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ป่วยสูงอายุที่มีความจำเป็นได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ

                  ของโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและประสงค์รับการดูแลที่บ้าน
                  ระยะที่1 การวางแผน (Plan) 1) ประชุมจัดตั้งทีมคณะทำงานประกอบด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ กำหนดบทบาท
                  หน้าที่ รับผิดชอบ และแนวทางการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน 2) ร่วมกำหนดเกณฑ์ (Criteria) กลุ่ม
   770   771   772   773   774   775   776   777   778   779   780