Page 777 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 777

T3



                  ผลการศึกษา
                         การพัฒนาบ้านชีวาภิบาลสำหรับผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้านระยะยาว (Long

                  term ventilator machine Home Care) ในปี 2566 มีผู้ป่วยที่ส่งขอคำปรึกษาใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้าน 10
                  ราย สามารถใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้านได้ 8 ราย เป็นผู้ป่วย long Term Care มีค่า ADL 0-4  คะแนน ส่วน
                  ใหญ่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง  ผลลัพธ์ พบว่าช่วยลดภาระของครอบครัว ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่
                  ดีขึ้น โดยประเมินระดับภาระการดูแลผู้ป่วย (caregiver burden) ก่อนเข้าร่วมโครงการ  มีระดับมาก 12.5%

                  ปานกลาง 50% น้อย 37.5% ภายหลังเข้าร่วมโครงการ  มีภาระการดูแลระดับปานกลาง 37.5% ระดับน้อย
                  เพิ่มขึ้น 62.5%  และระดับคุณภาพชีวิตก่อนเข้าร่วมโครงการมีคะแนนคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง 75%
                  คุณภาพชีวิตไม่ดี 25% ภายหลังเข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี 40% ระดับปานกลาง 60% อัตราความพึง

                  พอใจ 100 % และอัตราการเข้ารับการรักษาซ้ำจากภาวะแทรกซ้อนหลังจำหน่ายภายใน 72 ชั่วโมง หรือ 28
                  วัน เท่ากับศูนย์


                  อภิปรายผล
                         การพัฒนาระบบบ้านชีวาภิบาลในผู้ป่วยสูงอายุที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้านในระยะยาวเป็น
                  การทำงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพ ชุมชน ร่วมทั้งการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการเชื่อมโยงงานทุติยภูมิ

                  สู่ปฐมภูมิ และใช้หลักการครอบครัวเป็นศูนย์กลางมาช่วยในการวางเป้าหมายการดูแลรักษาร่วมกันแบบองค์

                  รวมทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การมีช่องทางการให้คำปรึกษาทั้งทางโทรศัพท์ ไลน์ “HV
                  ตากอบอุ่น” สำหรับผู้ดูแลและครอบครัว สร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วย

                  หายใจสามารถอยู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                         - การดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจที่บ้านเป็นความท้าทายของทีมบุคลากร ที่จำเป็นต้องมีทักษะ
                  ประสบการณ์ที่สำคัญคือความรักและความหวัง  ไม่ท้อถอยในการทำงานบนความสิ้นหวัง“บริการสุขภาพที่เท่า
                  เทียม คุณค่าความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม ในการรักษาผู้ป่วยกึ่งวิกฤติ” พัฒนาและเตรียมความพร้อมในการดูแล
                  เมื่อผู้ป่วยเปลี่ยนระยะเข้าสู่ระยะประคับประคอง (palliative care)
                         - การวางแผนจำหน่ายแบบสมบรูณ์แบบ (Comprehensive Discharge Planning) เป็นการวางแผน

                  จำหน่ายที่ดีมีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรขยายผลการใช้บ้านเสมือนหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยครอบครัวมีส่วน

                  ร่วมในกลุ่มโรคอื่นๆที่เหมาะสม
                         - พัฒนา caregiver อบรมตามมาตรฐานของกรมอนามัยเพื่อให้มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยระยะ

                  พึ่งพิง

                         - หาแหล่งสนับสนุนจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นให้เพียงพอสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายไปใช้ต่อที่บ้าน รวมทั้ง
                  การเตรียมสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสม
   772   773   774   775   776   777   778   779   780   781   782