Page 780 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 780
T6
ระดับพอใจมากร้อยละ 66.7 และมากที่สุดร้อยละ 33.3 ญาติรู้สึกว่าผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบโดยมีความพึงพอใจ
ระดับมากถึงมากที่สุดร้อยละ 100
สรุปอภิปรายและข้อเสนอแนะ
การยุติเครื่องพยุงชีพในผู้ป่วยระยะท้ายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้กลับสู่อ้อมกอดของญาติ
อันเป็นที่รัก การให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ทีมสุขภาพ ผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งการมีทีมที่มีความรู้ มียา strong
opioids ,midazolam และยาจำเป็นอื่นๆ มีเครื่องมือที่สนับสนุน เอื้ออำนวยต่อการพาผู้ป่วยกลับไปดูแลต่อที่
บ ้ า น
จะสามารถช่วยสร้างสุขสุดท้ายและภาพสุดท้ายที่งดงามให้กับผู้ป่วยและญาติ ช่วยลดความรู้สึกผิด ความทรงจำ
ที่ไม่ดีจาการสูญเสียคนรักได้ ข้อจำกัดของการถอดถอนเครื่องพยุงชีพที่พบคือ การคาดการณ์การเสียชีวิตไม่มี
ความแน่นอน การเตรียมยาลดอาการที่ต้องให้แบบต่อเนื่องทางใต้ผิวหนังมีข้อจำกัดคือ 3-5 วันหากผู้ป่วยที่มี
แนวโน้มที่จะไม่เสียชีวิตภายใน 3-5 วัน ผู้ป่วยเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ยาและอุปกรณ์เพื่อคุมอาการที่บ้านต่อไปอีก
จึงต้องมีการดูแลต่อโดยทีมโรงพยาบาลใกล้บ้าน แต่หากทางโรงพยาบาลไม่มีความพร้อม ไม่มีทีม ไม่มียา
โดยเฉพาะ strong opioids และ midazolam ก็ไม่สามารถให้บริการได้ส่งผลต่อการจัดการอาการรบกวนได้
ไม่ดี เนื่องจากการนำยาดังกล่าวออกไปใช้ที่บ้าน ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเคร่งครัด หากโรงพยาบาล
ชุมชนยังไม่มียาเหล่านี้และไม่มีอุปกรณ์สำหรับให้ยาทางใต้ผิวหนังแบบต่อเนื่อง เมื่อยาที่ได้ไปจากโรงพยาบาล
มหาราชนครศรีธรรมราชหมดก็จะไม่มียาที่จะใช้ต่อจนกระทั่งเสียชีวิต ผู้ป่วยอาจมีความทรมานจากอาการ
เหนื่อยหรือปวด ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในกระบวนการพัฒนาศักยภาพทีม สร้างความมั่นใจ พัฒนาระบบบริการใน
รูปแบบเครือข่ายระบบ node และประสานให้โรงพยาบาลชุมชนมีจัดหายาและอุปกรณ์การให้ยาดังกล่าว
คาดว่าจะให้บริการถอดถอนเครื่องช่วยหายใจให้กับผู้ป่วยที่มีความประสงค์ได้มากขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยระยะ
สุดท้ายได้ทำในสิ่งที่ต้องการและกลับไปเสียชีวิตที่บ้านอย่างสงบท่ามกลางคนที่รัก เป็นการลดการรักษาที่ไม่
จำเป็น ที่เป็นเพียงการยื้อชีวิต ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาลและญาติอีก
ด้วย