Page 778 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 778
T4
การถอดถอนเครื่องพยุงชีพผู้ป่วยระยะท้ายโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
(Removing of life support machines in end of life patients)
ดลพร เขียวบรรจง, รพีพรรณ พวงแก้ว ,ศรรุจี ระย้า
โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตสุขภาพที่ 11
ประเภทวิชาการ
ความสำคัญของปัญหา
เครื่องพยุงชีพเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่นำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีการทำงานของอวัยวะล้มเหลวเพื่อให้
มีเวลารักษาตัวโรคจนกว่าอวัยวะที่ล้มเหลวต่างๆดีขึ้น แต่หากโรคเหล่านั้นไม่สามารถรักษาได้ และอยู่ในระยะ
ท้ายของชีวิต เครื่องพยุงชีพเหล่านี้จะไม่เกิดประโยชน์อีกต่อไปแต่จะสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยและ
เป็นการยื้อความตาย ในกรณีที่ผู้ป่วยและหรือญาติมีความประสงค์จะยุติเครื่องพยุงชีพ หรือต้องการจะพา
ผู้ป่วยกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน สามารถทำได้ตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งบุคคลมีสิทธิทำ
หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต
หรือเพื่อยุติความทรมานจากการเจ็บป่วย ในแง่จริยธรรมการถอดถอนเครื่องพยุงชีพต้องสร้างความเข้าใจกับ
ผู้ป่วยและญาติ เพราะการตัดสินใจไม่ใช่ขาวกับดำ ต้องค่อยๆให้ข้อมูลและสื่อสารอย่างเป็นกระบวนการ ให้
ข้อมูลตามความเป็นจริง และดูแลให้ผู้ป่วยสุขสบายภายใต้การติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ช่วยครอบครัวให้
ผ่านพ้นวิกฤติและไม่ให้เกิดความรู้สึกผิดกับการตัดสินใจนั้น ก่อนหน้านี้โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชยัง
ไม่มีแนวทางปฏิบัติเรื่องการถอดถอนเครื่องพยุงชีพโดยเฉพาะท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ดังนั้นหาก
ผู้ป่วยและญาติต้องการจะพาผู้ป่วยไปเสียชีวิตที่บ้าน ญาติจะต้องเป็นฝ่ายถอดท่อช่วยหายใจเอง และ ไม่ได้รับ
การจัดการอาการเหนื่อยที่ดีพอ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับญาติ ปัจจุบันหน่วยอุ่นรักษ์เพื่อผู้ป่วย
ประคับประคองโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชได้กำหนดแนวทางการถอดถอนเครื่องพยุงชีพในผู้ป่วย
ระยะท้ายที่มีความประสงค์จะกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน และได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 1เมษายน 2561 ถึง ปัจจุบัน
โดยให้บริการถอดถอนเครื่องพยุงชีพและท่อช่วยหายใจผู้ป่วย จัดการอาการไม่สุขสบายต่างๆ สนับสนุน
อุปกรณ์เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ติดตามให้คำปรึกษาแก่ญาติ และลงเยี่ยมบ้านโดยทีมเครือข่าย
ประคับประคองจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อให้การดูแลต่อเนื่องจนกระทั่ง เสียชีวิต และให้กำลังใจญาติที่ต้อง
เจอกับการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลลัพธ์การถอดถอนเครื่องพยุงชีพในผู้ป่วยระยะท้ายโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยติดตามและรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยระยะท้ายที่รักษาในโรงพยาบาล
มหาราชนครศรีธรรมราช และได้รับการปรึกษาเพื่อถอดถอนเครื่องพยุงชีพ ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2565 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 จำนวน 38 ราย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ได้แก่ เพศ อายุ ที่
อยู่ และแบบบันทึกข้อมูลการเจ็บป่วยและการรักษาได้แก่ หอผู้ป่วย จำนวนวันนอน การวินิจฉัยหลัก การ
รักษาที่ได้รับ ระดับความรู้สึกตัว (Glasgow coma scale) และ PPS (Palliative Performance Scale)
ในช่วง 24 ชั่วโมงก่อนถอดถอนเครื่องพยุงชีพ อาการรบกวนของผู้ป่วย การบันทึกถึงความปรารถนาของผู้ป่วย
เกี่ยวกับการดูแลรักษาในระยะท้าย ผู้ตัดสินใจ ยาและอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการยุติเครื่องพยุงชีพ อาการที่
เกิดขึ้นหลังจากได้ยุติเครื่องพยุงชีพ และการจัดการอาการต่างๆ ระยะเวลาหลังกระบวนการถอดถอนเครื่อง