Page 796 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 796
T22
19. จัดตั้งหอผู้ป่วยพลังใจรองรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถกลับไปดูแลที่บ้าน และรับนอนรักษาในผู้ป่วยที่ยัง
มีอาการรบกวนแบบ one stop service
20. พัฒนาโปรแกรมจัดเก็บข้อมูล Thai Palliative Care Cloud
21.ส่งบุคลากรแพทย์ เภสัชกร พยาบาลเข้าอบรมฟื้นฟูความรู้ที่ศูนย์การุณรักษ์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น
ผลการศึกษา
ผู้ป่วยระยะประคับประคองเข้าถึงบริการดูแลแบบประคับประคองเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ.2562 -256 ดังนี้
1,750 ราย 2,028 ราย 2,270 ราย 2,412 ราย และ 3,277ราย มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการบรรเทาอาการ
ปวดลดลง 50% ใน 48 ชั่วโมง ด้วยยา Opioids ร้อยละ 77, 83, 95, 92 และ ร้อยละ 85 ผลการประชุม
ครอบครัวและมีแผนการดูแลล่วงหน้า ร้อยละ79, 75, 78, 83 และร้อยละ 94 ผลการได้รับการดูแลต่อเนื่องที่
บ้าน ร้อยละ53, 74, 64, 61และร้อยละ90 ผลการดูแลผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างสงบสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(Good Death) ตามแผนการดูแลล่วงหน้า ร้อยละ 96, 93, 96, 97 และร้อยละ 97 ผลลัพธ์ความพึงพอใจของ
ผู้ป่วยและครอบครัวต่อระบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง ร้อยละ 88,91, 94, 95 และร้อยละ95
ตามลำดับ
อภิปรายผล
ผลการพัฒนา บุคลากรสหสาขาวิชาชีพทุกระดับ และบุคลากรได้รับการฟื้นฟูองค์ความรู้ทุกปี โดยศูนย์
การุณรักษ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ ส่งผลให้สามารถดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบ
ประคับประคองได้ครอบคลุมองค์รวม ผู้ป่วยเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยประคับประคองได้รับการบรรเทา
อาการรบกวนอย่างมีประสิทธิภาพ และเสียชีวิตอย่างสงบตามแผนการดูแลล่วงหน้า
สรุปและข้อเสนอแนะ
6.1ควรมีระบบการคัดกรองผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคองเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการ
การดูแลแบบประคับประคองเพิ่มมากขึ้น
6.2 การจัดระบบบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง จะส่งผลให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถขอรับปรึกษาและ
การแก้ไขปัญหาอาการรบกวนได้ทันท่วงที ลดการกลับมา readmission ได้
6.3 ควรส่งเสริมการเรียนการสอน Palliative Care ในโรงเรียนแพทย์