Page 791 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 791

T17


                         ประชากร คือ ผู้สูงอายุที่เข้าชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดลพบุรีทั้งเพศหญิงและชาย ที่มี
                  อายุ 60 ปีขึ้นไป  จำนวน 82 คน
                          กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เข้าชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดลพบุรีทั้งเพศหญิงและชาย

                  ที่มีอายุระหว่าง 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศหญิงและชาย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน
                        วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
                           โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
                       วิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้
                          1.การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                  เพื่อบรรยายลักษณะข้อมูลทั่วไป ที่เป็นตัวแปรต่อเนื่องของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ, อายุ, สถานภาพสมรส,
                  ระดับการศึกษา, อาชีพ, รายได้, ประวัติการพลัดตกหกล้ม
                          2.เพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนผู้สูงอายุ

                  เทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดลพบุรี ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยใช้สถิติ Paired Samples t–test

                  ผลการศึกษา

                          ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัด
                  ลพบุรีพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน ส่วนใหญ่เพศหญิงร้อย
                  ละ 83.33 มีอายุุ 70 ปีขึ้นไปร้อยละ 66.66 อายุุเฉลี่ย 73 ปี อายุต่ำสุด 61 ปี อายุสูงสุด 85 ปี   สถานภาพ
                  สมรสร้อยละ  52.7 จบการศึกษาในระดับ  ป.4 ร้อยละ  53.8  อาชีพทำไร่ร้อยละ  43.8 มีรายได้เฉลี่ยต่อเด่อน

                  น้อยกว่า  5,000  บาท ร้อยละ  50.0 ปัจจุบัน อาศัยอยู่กับคู่สมรสร้อยละ  56.0 ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุมีโรค
                  ประจำตัว  คือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและไขมันสูง และมียารับประทานประจำร้อยละ 86.6 ไม่เคย
                  มีประวัติการเข้ารับการรักษาจากการหกล้ม ร้อยละ 75 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ก่อนและหลังการทดลอง

                  คะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ มีความแตกต่างกันอย่างมี
                  นัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)

                  อภิปรายผล
                            การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ
                  เทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดลพบุรี ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองบัว

                  จังหวัดลพบุรี มีความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันการพลัดตกหกล้มสูงกว่าหลังได้รับโปรแกรมการป้องกัน
                  การพลัดตกหกล้ม การให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการพลัดตกหกล้ม การส่งเสริมการออกกำลังกายของ
                  ผู้สูงอายุ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และทบทวนการใช้ยาของผู้สูงอายุ สามารถลด
                  การพลัดตกหกล้มได้ การศึกษาของ ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และกรรณิการ์ เทพกิจ (2560) ที่ศึกษาผลของ
                  โปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 50

                  ราย พบว่าผู้สูงอายุมีความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมี
                  นัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) อัตราการพลัดตกหกล้มของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพลัดตกหกล้มภายใน 90
                  วัน ต่ำว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

                  สรุปและข้อเสนอแนะ

                            การวิจัยครั้งนี้เป็นการนำโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนมาใช้เป็นแนวทาง
                  ในการป้องกันการเกิดการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งพบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมมีความรู้และพฤติกรรมดีกว่า
                  กลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรม ดังนั้นจึงสามารถนำโปรแกรมไปใช้ให้เกิดการแพร่หลายในผู้สูงอายุ ที่มีความเสี่ยงต่อ

                  การเกิดการพลัดตกหกล้ม ก่อให้เกิดแนวทางป้องกันตามบริบทของกลุ่มและพื้นที่ชุมชน
   786   787   788   789   790   791   792   793   794   795   796