Page 792 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 792
T18
Monk One Stop Service( MOSS model)
นางวรรณา อุ่นยิ่งเจริญ
โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17
จังหวัดสุพรรณบุรีเขตสุขภาพที่ 5
ประเภทนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
จากการให้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่17 พบว่ามีพระสงฆ์
อาพาธที่เข้ามาตรวจรักษาเฉลี่ยปีละ 400-500 ราย เฉลี่ย 1-3 รายต่อวัน พบว่า เมื่อพระสงฆ์อาพาธ
มาโรงพยาบาลและพบแพทย์ที่เป็นฆราวาส แพทย์ส่วนใหญ่มีความรู้ เกี่ยวกับพระธรรมวินัยน้อยมาก
เช่นเดียวกับ เจ้าหน้าที่อื่นๆอีกมากมายในโรงพยาบาล ดังนั้นจึงมักเกิดปัญหาว่า การปฏิบัติบางอย่างต่อพระ
ที่มาใช้บริการ ไม่สอดคล้องกับพระวินัย บางท่านถือเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หลายท่านที่เคร่งครัดในเรื่อง พระ
วินัยเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ พระจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะไม่ใช้ บริการของโรงพยาบาลเพื่อตัดปัญหาที่อาจจะ
เกิดขึ้น หรือเลือกที่จะไม่มาโรงพยาบาล ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการบริการที่จำเป็นได้ ประกอบมีความแออัดใน
การรอตรวจในแต่ละแผนกซึ่งในแผนกผู้ป่วยนอกซึ่งมีจำนวนผู้มารับบริการจำนวนมากมีการปะปนกับฆราวาส
ในการรอคอยพบว่าผู้ป่วยทั่วไปบางคนก็ให้พระสงฆ์อาพาธตรวจก่อนและบางคนก็ไม่ยอม มีข้อร้องเรียน
ถึงความเสมอภาคต่างๆ เกิดความไม่พึงพอใจ ในการมารับบริการ สร้างความลำบากใจของเจ้าหน้าที่
ที่ให้บริการหน้างานนั้นๆ
ดังนั้นทางโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่17 จึงเห็นความสำคัญของการจัดระบบ ให้บริการ
ในแผนกผู้ป่วยนอก แก่พระสงฆ์อาพาธเพื่อเกื้อหนุนให้พระไม่ต้องอาบัติ ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย ไม่รู้สึก
ลำบากใจเมื่อไปรับบริการและได้รับการตรวจรักษาตามมาตรฐาน เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่สำคัญจำเป็น
โดยระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของรัฐ (บัตรทอง) ได้ครอบคลุม การดูแลพระสงฆ์อาพาธโดยไม่คิดมูลค่า
เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป โรงพยาบาลจึงจัดระบบการตรวจพระสงฆ์แผนกผู้ป่วยนอกโดยปรับปรุงจากเดิม
มีห้องสมเด็จพระสังฆราช 1 ห้อง ซึ่งใช้ทำพิธีกรรมทางศาสนานานๆ ครั้ง โดยกั้นแบ่งห้องออกเป็นสองห้อง
ห้องหนึ่งใช้ทำพิธีกรรมทางทางศาสนา ส่วนอีกหนึ่งห้อง จัดเป็นห้องตรวจสำหรับพระสงฆ์อาพาธโดยเฉพาะเป็น
สัดส่วนไม่ปะปนกับฆราวาสโดยใช้แนวคิดMonk One Stop Service(MOSS model ) มีการจัดให้มีทีมแพทย์
มาตรวจประจำวันและมีการใช้โปรแกรม Hosxp ในการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการดูแลรักษาถวายภัตตาหารเพล
แก่พระสงฆ์อาพาธใช้การทำงานประสานกันเป็นทีม แบบสหสาขาวิชาชีพ โดยยึดพระสง์อาพาธเป็นศูนย์กลาง
จากข้อมูลความพึงพอใจของพระสงฆ์จำนวน 30 ราย เดือนตุลาคม2566-ธันวาคม2566 ความพึงพอใจ
ในภาพรวมทุกด้านคิดเป็นร้อยละ71และด้านความพอใจในด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ให้บริการร้อยละ74
หลังการให้บริการแบบ MOSS model ตั้งแต่เดือนมกราคม2567-มีนาคม2567 จากการให้บริการพระสงฆ์
อาพาธ จำนวน 30 ราย พบว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจของพระสงฆ์ในภาพรวมเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ93
และด้านความพอใจเพิ่มขึ้นในด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ให้บริการ ร้อยละ95 ไม่พบข้อร้องเรียนในการดูแลพระสงฆ์
วัตถุประสงค์การศึกษา
1.เพื่อให้พระสงฆ์อาพาธเข้าถึงการบริการทางการแพทย์และถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย
2.เพื่อให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในบริการ
3.ไม่มีข้อร้องเรียนในเรื่องการดูแลพระสงฆ์