Page 84 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 84
B12
ผู้ป่วยมะเร็งหลายรายไม่ได้เป็นผู้ป่วยที่รับการรักษาประจำที่โรงพยาบาลจอมทอง ทำให้ขาดข้อมูลการ
รักษาที่สำคัญบางอย่าง เช่น ข้อมูลโรคประจำตัวหรือผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ เป็นต้น
กรณีที่ใบคำสั่งการรักษาของแพทย์ไม่ได้มีการระบุข้อมูลดังกล่าว จะทำให้ผู้วิจัยไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้ป่วย
นั้นได้รับการรักษาที่เหมาะสมหรือเกิดปัญหาด้านยาหรือไม่
ในส่วนปัญหาจากการใช้ยาหัวข้อ “ขนาดไม่เหมาะสม (มากไปหรือน้อยไป)” พบว่าในส่วนที่แพทย์ไม่
ยอมรับแก้ไขเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น กรณีผู้ป่วย Palliative care แพทย์ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะรักษาให้
โรคมะเร็งหายขาด แต่เพื่อยืดระยะเวลาการมีชีวิตของผู้ป่วยเท่านั้น แพทย์จึงสั่งยาที่มีขนาดน้อยกว่ามาตรฐาน
เพื่อลดอาการข้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัด
สรุปและข้อเสนอแนะ
6.1 จัดทำแบบบันทึกการปรึกษาปัญหาด้านยาเคมีบำบัดโดยเฉพาะ เพื่อลดขั้นตอนการระบุ
รายละเอียดที่มากเกินไป จะทำให้เภสัชกรปรึกษาปัญหาผ่านแบบบันทึกข้อมูลมากขึ้น ส่งผลให้เก็บข้อมูลได้
ตามความเป็นจริง และเกิดความสมบูรณ์ของข้อมูลเมื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อในอนาคต
6.2 ปรับปรุงข้อมูลในแบบฟอร์มสั่งใช้ยา โดยเพิ่มข้อมูลยาที่มีข้อกำหนดเฉพาะ ระบุขนาดยาแนะนำ
และชนิดของสารนํ้าที่ใช้บ่อย โดยมีความคิดเห็นของแพทย์ผู้ใช้แบบฟอร์มร่วมในการปรับปรุง
6.3 กำหนดให้เภสัชกรผู้คัดลอกคำสั่งการใช้ยาต้องทำการเทียบขนาดยาที่แนะนำกับขนาดยาที่แพทย์
สั่งทุกครั้งโดยใช้โปรแกรมคำนวนขนาดยาเคมีบำบัดที่จัดทำขึ้นใหม่ และเพิ่มข้อมูลสำคัญที่ควรระวังใน
สติ๊กเกอร์ยาเคมีบำบัด เพื่อช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องของการสั่งใช้ยามากขึ้น
6.4 การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมสถานที่ปฏิบัติงานเพื่อให้สะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ โดยการติดป้ายชื่อยา
เคมีบำบัดที่ชั้นวางยา ป้ายชื่อน้ำเกลือ สำหรับยาที่ลักษณะภาชนะบรรจุคล้ายกัน (Look Alike Sound Alike:
LASA Drug) ให้แยกที่จัดเก็บยาออกจากกันอย่างชัดเจน
6.5 จัดระบบการแจ้งเตือนทางวาจาทันที เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนทราบตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการพบ
ความผิดพลาดเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเพิ่มความระมัดระวังในการทำงานมากขึ้น