Page 83 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 83
B11
เชิงพรรณนา รายงานข้อมูลในรูปแบบของจำนวนค่าเฉลี่ย ร้อยละ และมูลค่าการประหยัดจะถูกคำนวณด้วย
โปรแกรม Microsoft Excel 2020
เกณฑ์การคัดเข้า
1. ผู้ป่วยถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
2. ผู้ป่วยเข้ารับเข้ารับยาเคมีบำบัดทุกราย ณ อาคารรังสีรักษาและเคมีบำบัด โรงพยาบาลจอมทอง
ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564
เกณฑ์การคัดออก
1. ผู้ป่วยที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน เช่น ผู้ป่วยที่ไม่สามารถระบุชื่อ-สกุลได้
2. ผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้ยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็ง
ผลการศึกษา
จากการวิเคราะห์ใบสั่งยาทั้งหมด 576 ใบ พบปัญหาจากการใช้ยาเคมีบำบัดที่ได้รับการแก้ไขโดย
เภสัชกร จำนวน 70 ครั้ง การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจากยาของเภสัชกร คือ ร้อยละ 12.15 พบว่าแพทย์
เห็นควรให้แก้ไขจำนวน 58 ครั้ง (ร้อยละ 82.86) โดยปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ขนาดยาไม่เหมาะสม 48 ครั้ง
(ร้อยละ 68.57) แบ่งเป็น ขนาดยามากเกินไป 28 ครั้ง (ร้อยละ 40) และขนาดน้อยเกินไป 20 ครั้ง (ร้อยละ
28.57) โดยแพทย์ยอมรับและแก้ไขจำนวน 25 ครั้ง (ร้อยละ 89.29) และ 14 ครั้ง (ร้อยละ 70) ตามลำดับ
การแก้ไขปัญหา คือ การปรับขนาดให้เหมาะสมตามค่า BSA
มูลค่าการประหยัดซึ่งคำนวณจากมูลค่ายาเคมีบำบัดที่ต้องสูญเสียไปกรณีไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาด้านยา
โดยเภสัชกร รวมทั้งหมด 70 ครั้ง คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 221,804 บาท อ้างอิงจากราคายาในโปรแกรมฐานข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ HosXP ของโรงพยาบาลจอมทอง
อภิปรายผล
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง ทำให้พบปัญหาน้อยกว่าความเป็นจริง เนื่องจากปัญหาอาจ
ไม่ได้ถูกบันทึกไว้โดยเภสัชกรหน่วยเตรียมยาหรือบุคลากรทางการแพทย์ เนื่อจากไม่มีแบบบันทึกการปรึกษา
ปัญหาด้านยาเคมีบำบัดโดยเฉพาะ ทำให้เภสัชกรไม่นิยมปรึกษาแพทย์ผ่านทางแบบบันทึกการปรึกษาปัญหา
ด้านยาทั่วไป เนื่องจากต้องเขียนระบุรายละเอียดมาก ให้ข้อมูลบางส่วนตกหล่นได้