Page 85 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 85
B13
ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ
ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
นางคนึงนิจ พีระภาสกร
โรงพยาบาลจอมทอง เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยเกิดความ
ไม่สุขสบาย เจ็บปวด รับประทานอาหารหรือกลืนอาหารลำบาก เกิดภาวะเสียสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ทำให้
ผู้ป่วยต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลต้องเลื่อนให้ยาเคมีบำบัด ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง หน่วย
เคมีบำบัด โรงพยาบาลจอมทอง ให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบําบัดในหน่วยเคมี
บำบัด จากสถิติอัตราการเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบของหน่วยเคมีบำบัด 2565-2566 มีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา
ด้วยการให้ยาเคมีบําบัด พบผู้ป่วยเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ ทั้งหมด 25 ราย คิดร้อยละ 22.94 พบผู้ป่วย 1 ราย
ที่ต้องกลับมาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยปัญหาไข้และติดเชื้อเนื่องจากภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบเกิด
ภาวะซึ่งส่งผลให้ต้องมีการปรับแผนการรักษาโดยการลดขนาดของยาเคมีบําบัดที่ผู้ป่วยต้องได้รับ
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบําบัด
2. เพื่อลดความรุนแรงของการเกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบําบัด
3. เพื่อส่งเสริมความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
4. เพื่อส่งเสริมความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก
วิธีการศึกษา
ขั้นตอนที่ 1
1. จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปาก
อักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ดังนี้ -จัดทำโปสเตอร์การใช้แนวปฏิบัติ - จัดทำเอกสารคู่มือการใช้
แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดสำหรับ
เจ้าหน้าที่ในหน่วยเคมีบำบัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตามแนวปฏิบัติ
2. เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกโดยมีขั้นตอนกิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลดังนี้
- จัดประชุมทีมพยาบาลหน่วยเคมีบำบัดอธิบายเกี่ยวกับแนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อป้องกันภาวะเยื่อบุ
ช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
ขั้นตอนที่ 2 การนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย(Implementation)
1. กำกับติดตามอย่างต่อเนื่องโดยติดตามประเมินการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง กำกับติดตาม สบับสนุน
เอื้ออำนวยให้มีการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกอย่างต่อเนื่อง
2. ใช้เทคนิคการกระตุ้นเตือน (reminding) ให้มีความตระหนักและปฏิบัติการดูแลตามแนวปฏิบัติทาง
คลินิกทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
3. การประชุม conference ทุกเช้า เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายของทีมพยาบาลเกี่ยวกับการ
ใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก มีการปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข
ขั้นตอนที่ 3 การปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการ PDCA ในกระบวนการนำแนวปฏิบัติไปใช้ได้มีการทดลองใช้
แนวปฏิบัติ โดยได้มีการติดตามกระบวนการใช้แนวปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงาน