Page 82 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 82
B10
การศึกษาปัญหาด้านยาในขั้นตอนการสั่งใช้ยาเคมีบำบัดและวิเคราะห์มูลค่าการประหยัดจาก
การแก้ไขปัญหาโดยเภสัชกรในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
นางสาวฉัตรวิสาข์ เชาวน์ตระกูล
โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เขตสุขภาพที่ 1
ประเภท วิชาการ
1. ความสำคัญของปัญหาวิจัย
การเตรียมยาเคมีบำบัดเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน หากเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาสามารถ
ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตต่อผู้ป่วยได้ รวมทั้งทำให้โรงพยาบาลสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากจากการทิ้งยา
สารนํ้าและวัสดุที่เกี่ยวข้อง ทำให้ยาเคมีบำบัดจัดอยู่ในกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงและต้องใช้ความระมัดระวังเป็น
พิเศษ เพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาน้อยที่สุด ดังนั้น การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาต้องอาศัย
ระบบงานที่มีประสิทธิภาพ และต้องมีการบันทึกข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำข้อมูล
ความคลาดเคลื่อนนั้นมาวิเคราะห์และทบทวนในทีมผู้เกี่ยวข้องกับการรักษาจึงจะเกิดการพัฒนาระบบงาน
อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และเกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้ป่วย
โรงพยาบาลจอมทองเริ่มจัดตั้งหน่วยเตรียมยาเคมีบำบัดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 โดยจำนวนผู้ป่วยมะเร็ง
พบว่ามีจำนวนเพียง 10 ราย ทำให้พบความคลาดเคลื่อนทางยาน้อยมาก แต่ปี พ.ศ. 2564 มีจำนวนผู้ป่วย
มะเร็งเพิ่มขึ้นเป็น 117 ราย ส่งผลให้แนวโน้มจำนวนความคลาดเคลื่อนทางยาเพิ่มขึ้น โดยในช่วงแรกนั้น เภสัช
กรให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสถานที่เตรียมยาและเทคนิคการผสมยามากกว่าการบันทึกความ
คลาดเคลื่อนทางยา โดยพบว่าการบันทึกความคลาดเคลื่อนทางยาส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบข้อมูลเชิงปริมาณและ
ไม่มีการนำมาวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ ว่าความคลาดเคลื่อนทางยานั้นพบมากในกระบวนการใด สาเหตุและ
รายละเอียดของความคลาดเคลื่อนเป็นอย่างไร เภสัชกรมีวิธีการจัดการและแก้ไขปัญหาอย่างไร อีกทั้งยังไม่เคย
มีการนำข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาที่ได้มาวิเคราะห์ในแง่ความคุ้มค่าคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์อีกด้วย
ดังนั้น ผู้ทำการวิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาปัญหาด้านยาในขั้นตอนการสั่งใช้ยาเคมีบำบัดและทำการ
วิเคราะห์ต้นทุนผลได้ของมูลค่าการประหยัดจากการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเคมีบำบัดโดยเภสัชกร
เพื่อใช้เป็นแนวทางไปสู่การจัดการปัญหาที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนทางยาและเพื่อสะท้อนให้เห็นว่าบทบาท
ของเภสัชกรในการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยเคมีบำบัด นอกจากช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
แล้วยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของการรักษาพยาบาลด้านยาลงได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาลักษณะของปัญหาด้านยาในขั้นตอนของการสั่งใช้ยา การจัดการปัญหาโดยเภสัชกร
2. เพื่อวิเคราะห์มูลค่าการประหยัดจากการป้องกันการเกิดปัญหาด้านยาเคมีบำบัดโดยเภสัชกร
วิธีการศึกษา
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง 1 ปี (Retrospective observational study)
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564 โดยรวมรวมข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลเล็กทรอนิกส์
(HosXP) และแบบบันทึกการปรึกษาปัญหาด้านยาของเภสัชกร ทำการวิเคราะห์และอภิปรายผลด้วยสถิติแบบ