Page 94 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 94

B22

                         สถิติผู้ป่วยมะเร็งในโรงพยาบาลสระบุรี (Hospital-based Cancer Registry) ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา

                  พบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา มีสัดส่วนของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 43 ของผู้ป่วย
                  มะเร็งที่เข้ารับการรักษาและเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหญิงรายใหม่ที่เข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดชนิดถอนราก
                  แบบดัดแปลงที่โรงพยาบาลสระบุรี (หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลสระบุรี, 2565) พบหลังผ่าตัดมะเร็ง

                  เต้านมพบอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังทำผ่าตัดมะเร็งเต้านมได้แก่ Seroma(ภายใน6เดือน) ในปี 2564-
                  2566 พบร้อยละ 41.79 33.33 และ 23.19 ตามลำดับ ซึ่งหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลสระบุรี เป็น
                  หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งก่อนและหลังผ่าตัด รวมทั้งให้การพยาบาลอย่าง
                  ต่อเนื่องจนกระทั่งจำหน่ายกลับบ้าน และได้รับการรักษาต่อเนื่องเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีพ (survival rate) ใน

                  ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดชนิดถอนรากแบบดัดแปลงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ
                  ให้ตัวชี้วัดคุณภาพไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
                         คณะผู้วิจัยจึงเห็นความจำเป็นที่ควรอาศัยการวางแผนจำหน่ายในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมมา
                  ทดลองใช้โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านมและให้บรรลุตัวชี้วัดคุณภาพ

                  วัตถุประสงค์การศึกษา/เป้าหมาย

                         1. เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านมหอผู้ป่วย
                  ศัลยกรรมหญิงโรงพยาบาลสระบุรี
                         2. เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดและให้ผู้ป่วย
                  มะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดได้รับการวางแผนจำหน่าย

                  วิธีการศึกษา

                         การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) ชนิดหนึ่งกลุ่ม
                         ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ
                  เจาะจงคือ1) ผู้ป่วยหญิงที่วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมและได้รับการผ่าตัดชนิดถอนรากแบบดัดแปลงในหอ

                  ผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงโรงพยาบาลสระบุรี อายุ30-70 ปี   2) สามารถสื่อสารภาษาไทยได้และ 3) ยินยอมเข้าร่วม
                  การวิจัย ทำการศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม 2566 - มกราคม 2567 จำนวน 31 ราย
                         เครื่องมือที่ใช้  แบบสำรวจฉบับนี้มี 3 ส่วน คือ
                         ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
                         ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) แนวทางปฎิบัติผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม   2)

                  โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยใช้กรอบแนวคิดของ Rorden และ Taft
                         ส่วนที่ 3 QR Code โปรแกรมการออกกำลังกายหลังทำผ่าตัดมะเร็งเต้านม
                         ส่วนที่ 4 แบบประเมินความพึงพอใจ

                  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยหลัง
                  ผ่าตัดมะเร็งเต้านมหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงโรงพยาบาลสระบุรี เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองทดลองโดยมีกลุ่ม
                  ทดลองรวมทั้งสิ้นจำนวน 31 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
                         ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง

                         ส่วนที่ 2 ผลลัพธ์การใช้โปรแกรมวางแผนจำหน่าย
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99