Page 93 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 93
B21
ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม
หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิงโรงพยาบาลสระบุรี
นางจีรวรรณ ศรีธนชัยวงศ์
โรงพยาบาลสระบุรี เขตสุขภาพที่ 4
ประเภทวิชาการ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
โรคมะเร็งเต้านม(CA Breast) เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของสตรีทั่วโลก ประมาณการอุบัติการณ์ มะเร็ง
เต้านมปรับมาตรฐานอายุ (Age Standardized Rate หรือ ASR) ทั่วโลก เท่ากับ 55.90 ต่อแสนประชากร
อัตราการตาย 13.0 ต่อแสนประชากร(Sung et al., 2021) ปัจจุบันมีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มสูงขึ้นในสตรีไทย
พบมากในสตรีอายุ 30-70 ปี จากข้อมูลสถิติโรคมะเร็งของประเทศไทยพบว่าอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมเป็น
อันดับ 1 ในเพศหญิง มีอัตราการเกิดร้อยละ 40.80 ต่อ ประชากรแสนคน และในปี พ.ศ.2565 พบผู้ป่วยราย
ใหม่จำนวน 38,559 คน(Health Data Center) และมะเร็งเต้านมเป็น 1 ใน 3 สาเหตุการเสียชีวิตของ
ประชากรทั้งประเทศ(กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข,2562)
การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีหลายวิธีได้แก่ การผ่าตัด การให้เคมีบำบัด การให้รังสีรักษา การ
รักษาด้วยฮอร์โมนและการให้ยารักษามุ่งเป้า (targeted therapy) การผ่าตัดมะเร็งเต้านมเป็นการรักษาหลัก
ของโรคโดยเฉพาะมะเร็งเต้านมในระยะที่ 1-3 ต้องได้รับการผ่าตัดชนิดถอนรากแบบดัดแปลง (Modified
Radical Mastectomy หรือ MRM)เป็นการผ่าตัดเต้านมออกทั้งเต้าและเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกผู้ป่วย
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ เช่น มีเลือดหรือซีรั่มค้างอยู่ใต้แผล (hematoma หรือ seroma) การติด
เชื้อที่แผลผ่าตัด (infection) ภาวะแขนบวมจากน้ำเหลืองคั่ง (arm lymphedema) ข้อไหล่ติด (shoulder
stiffness) การชา (numbness)รวมถึงภาพลักษณ์จากการเสียสมดุลของทรวงอก
การดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านมให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยองค์ประกอบได้แก่
ความเข้าใจด้านพยาธิสภาพของโรคและการรักษา การประเมินปัญหาของผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้
ครอบคลุมทั้งในระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดและการวางแผนจำหน่าย ซึ่งจุดเน้นที่สำคัญของการผ่าตัดชนิดนี้คือ
การวางแผนและปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งในระยะที่รักษาตัวในโรงพยาบาล
และกลับบ้านเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ในประเทศไทย พบว่า มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการ
ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเต้านม (เพียงฤทัย โรจน์ชีวิน, สายพิณ เกษมกิจวัฒนา,
และวรรณี สัตยสัตย์,2551; หนึ่งฤทัย อุดเถิน, ธนพร โตสงวนรุ่งเรือง, ลัดดาวัลย์ ศรีแสนตอ,ชีพาคม ภาภัทรดล
, และธมลวรรณ ยอดกลกิจ,2563; อรุณศรี ชัยทองสกุล, 2558) แต่มีการวัดผลลัพธ์แตกต่างกัน และมุ่งเน้นการ
ใช้แนวปฏิบัติในกลุ่มบุคลากรทางการพยาบาล จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมาพบว่า มีงานวิจัยใน
ต่างประเทศได้ใช้แนวทางการดูแล (care pathways) มาพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผลจาก
การศึกษาวิจัยดังกล่าวบ่งชี้ว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการดูแลตามแนวทางการดูแลมีความพึงพอใจเพิ่มมาก
ขึ้นระดับความวิตกกังวลลดลง และคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยได้รับการปรับปรุง (Santoso, Iau, Lim, Koh,
& Pang, 2002) นอกจากนี้พบว่า แนวทางการดูแลทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง
ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยมีการปรับปรุง รวมทั้งลดค่ารักษาพยาบาลและจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล
(Smith & Hillner, 2 0 0 1 ; van Hoeve, de Munck, Otter, de Vries, & Siesling, 2 0 1 4 a) และหากการ
พัฒนาแนวทางการดูแลร่วมกับสหสาขาวิชาชีพเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้การดูแลผู้ป่วยผู้ป่วยมะเร็งเต้า
นมมีประสิทธิภาพ (Brice et al., 2021)