Page 91 - Best Practice Poster 2024 (อัพเดต)
P. 91
B19
4. ขั้นตอนการพัฒนาระบบ (Development) โดยใช้เครื่องมือหลักในการพัฒนาระบบคือแอปพลิเคชันไลน์,
Google Appscript ,Google Sheet,และGoogle Studio สาเหตุที่เลือก เครื่องมือดังกล่าวเพราะเป็นซอฟต์แวร์ฟรี
เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย สามารถหาแหล่งความรู้ได้ง่าย
5. ขั้นตอนการทดสอบระบบ (Testing) หลังจากที่ได้มีการเขียนโปรแกรมต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จำเป็นต้องทดสอบการทำงานของระบบในเบื้องต้นว่ามีข้อผิดพลาดหรือตรงตามต้องการ โดยช่วงแรกนำมาใช้
ภายในโรงพยาบาลอ่างทอง
6. ขั้นตอนการใช้งานจริง (Implementation) หลังจากได้ทดสอบระบบเบื้องต้นและแก้ปัญหาที่พบแล้ว
นำไปสู่ขั้นตอนการใช้งานจริง โดยจัดทำคู่มือและวิดีโอสอนการใช้งานอัปโหลดเข้าไว้ใน Youtube ช่องอณู
ชีวโมเลกุล โรงพยาบาลอ่างทอง ให้หน่วยงานบริการเครือข่ายจังหวัดอ่างทองเปิดใช้แอปพลิเคชันไลน์แล้วเพิ่ม
BOT ที่ชื่อ HPV.อ่างทอง จึงใช้งานได้ปกติ
7. ขั้นตอนการบำรุงรักษา (Maintenance) มีการแนะนำการใช้งานหากมีปัญหา คอยดูแลความปลอดภัย
และบำรุงรักษาฐานข้อมูล
ผลการศึกษา
การพัฒนาระบบงานใหม่ ให้เป็นระบบดิจิตตอล นำสารสนเทศในปัจจุบันมาปรับการทำงานจากระบบ
เอกสาร มาเป็นระบบฐานข้อมูล เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้งานได้สะดวก และมีการทำงานที่ถูกต้องและมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลการดำเนินงานแสดงได้ดังภาพ
1.เข้าหน้าเพิ่มเพื่อน 2. หน้าทักทายตอบรับเพื่อน 3.หน้าหลักของ BOT 4. ตัวอย่างรายงานผล
5.ตัวอย่างแจ้งเตือนผลผิดปกติ 6.สถิติรายงานแยกหน่วยส่ง 7.สถิติรายงานเบิกจ่าย
ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบของหน่วยผู้ให้บริการ ด้านความสามารถในการทำงานตาม
ความต้องการของผู้ใช้อยู่ในเกณฑ์ดีมาก (x̅= 10/10) ความสามารถของระบบโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (x̅=9/10)
และด้านการออกแบบอยู่ในเกณฑ์ดี(x̅= 8/10)
ผลการประเมินความพึงพอใจของหน่วยผู้รับบริการ ความสะดวกในกาตติดตามผลอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
(x̅= 9/10) ความพอใจในระบบการแจ้งเตือนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก( x̅= 9/10) และการกรอกข้อมูลและนำเข้า
ข้อมูลอยู่ในเกณฑ์ดี(x̅= 8/10)