Page 19 - แนวทางการตรวจคัดกรองและรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี
P. 19
12 แนวทางการตรวจคัดกรองและรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ส าหรับแพทยเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2567
์
์
แนวทางการตรวจคัดกรองและรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ส าหรับแพทยเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2567
บทที่ 5 แนวทางการคัดกรองและรักษาไวรัสตับอักเสบซี
การตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบซี ในประชากรกลุ่มเป้าหมาย มี 2 ขั นตอน ได้แก่
1. การตรวจคัดกรอง
2. การตรวจยืนยันการวินิจฉัย
โดยการตรวจหาแอนติบอดีที่จ้าเพาะต่อไวรัสตับอกเสบซี (Anti-HCV) ด้วยการตรวจชุดตรวจด้วยน ้ายาใน
ั
ห้องปฏิบัติการ (ELISA) และชุดตรวจแบบรวดเร็ว (Rapid Diagnostic Test; RDTs) ซึ่งเป็นการตรวจที่ง่ายรวดเร็ว
และมีราคาถูก
หากผลตรวจเป็นบวก จ้าเป็นต้องมีการตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยว่ามีการติดเชื อไวรัสตับอักเสบซี หรือไม่
โดยการตรวจ HCV RNA Qualitative หรือ HCV RNA Quantitative หรือการตรวจ HCV core antigen (HCV-cAg)
ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่แนะน้าให้มีการตรวจคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบซี ได้แก่
1. ประชากรไทยที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 โดยได้สิทธิ์ตรวจคัดกรอง จ้านวน 1 ครั ง ตลอดชีวิต
2. ประชากรไทย 5 กลุ่มเสี่ยงได้สิทธิ์ตรวจคัดกรอง จ้านวน 1 ครั งต่อปี
2.1 ติดเชื อเอชไอวี (People Living with HIV; PLHIV)
2.2 ผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด (People who inject drugs; PWID)
2.3 กลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย (Males who have sex with males; MSM)
2.4 บุคลากรทางการแพทย์ (Health Personnel)
2.5 ผู้ต้องขัง (Prisoner)