Page 12 - คู่มือตำรับอาหารมาตรฐานในโรงพยาบาล (Full)
P. 12
3
ปี ควรได้รับพลังงาน 1,500 – 1,800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน มีสัดส่วนของสารอาหารที่พอเหมาะ คือ
คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 45 - 60 ของพลังงาน โปรตีน ร้อยละ 15 – 20 ของพลังงาน และไขมันไม่เกิน
ร้อยละ 30 ของพลังงาน นอกจากนี้ควรมีปริมาณผัก 4 ทัพพีต่อวัน และปริมาณโซเดียม 2,000 – 2,400
มิลลิกรัมต่อวัน
หลักการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้ปกติ
2. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวควรรับประทานข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ
3. รับประทานพืช ผัก ผลไม้ เป็นประจำ เน้นผักและผลไม้หลากหลายสี
4. รับประทานปลา ไข่ และเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน สลับถั่วเมล็ดแห้งหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเป็นประจำ
5. ดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมให้เหมาะสมกับวัย
6. รับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำมันที่เหมาะสม
7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด และเค็มจัด
8. รับประทานอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
9. งดหรือเลี่ยงหลีกการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ตารางที่ 1.1 ชนิดและปริมาณอาหารที่คนไทยควรรับประทานใน 1 วัน
กลุ่มอาหาร หน่วย พลังงาน (กิโลแคลอรี่)
1,600 2,000 2,400
กลุ่มข้าว - แป้ง ทัพพี 8 10 12
กลุ่มผักต่างๆ ทัพพี 4 (6) 5 6
กลุ่มผลไม้ ส่วน 3 (4) 4 5
กลุ่มเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว ช้อนกินข้าว 6 9 12
กลุ่มนม แก้ว 2 (1) 1 1
กลุ่มน้ำมัน น้ำตาล เกลือ ช้อนชา กินแต่น้อยเท่าที่จำเป็น
กินอาหารแบบ 2 : 1 :1 คืออะไร
2 : 1 : 1 เป็นแนวคิดการกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมโดยการกะประมาณด้วยสายตาของ
ผู้บริโภคเอง โดยแบ่งสัดส่วนจานข้าว (ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 9 นิ้ว) ออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กันและ
แบ่งประเภทอาหารที่จะตักลงจานข้าว ประกอบด้วย ข้าว หรือผลิตภัณฑ์จากข้าว 1 ส่วน กับข้าวที่มี
1
เนื้อสัตว์ 1 ส่วน และผัก 2 ส่วน
1.4.2 อาหารในโรงพยาบาล หมายความถึง อาหารที่โรงพยาบาลทั่วไปจัดบริการให้แก่ผู้ป่วยที่
ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเฉพาะโรค ลักษณะของอาหารจะเหมือนอาหารคนปกติที่ไม่เจ็บป่วยทั่วๆ