Page 10 - คู่มือตำรับอาหารมาตรฐานในโรงพยาบาล (new)
P. 10
1
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมา
กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ.2561 – 2580 ความมั่นคง
ด้านอาหาร การเข้าถึงอาหารของประชาชนคนไทย อาหารมีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ
ื่
ที่เหมาะสมตามวัย เพอสุขภาวะที่ดีของผู้บริโภค รวมถึงมีระบบการผลิตอาหารที่เกื้อหนุน การแปรรูป
การบริการ สอดคล้องกับวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับ
การพฒนาและยกระดับสุขภาพของประชาชนในทุกมิติทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟนฟสุขภาพ
ู
ั
ื้
ของประชาชนคนไทย ให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพในทุกด้าน
นโยบายกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2567 มีภารกิจในการดูแลสุขภาพประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
ื้
ให้แข็งแรง ซึ่งเป็นพนฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืน มีความ
มั่นคงทางสุขภาพ และมีแผนขับเคลื่อนนโยบายข้อ 12 ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจสุขภาพ “เมืองสุขภาพ วิถี
ชุมชน คนอายุยืน” ข้อ 13 ว่าด้วยเรื่องนักท่องเที่ยวปลอดภัย “ยกระดับความปลอดภัยในอาหาร สถานที่
และ ผู้ให้บริการ” และในปี 2561 กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการดำเนินการโรงพยาบาลอาหาร
ปลอดภัย โดยวัตถุประสงค์เพอให้ผู้ป่วย ญาติ เจ้าหน้าที่และประชาชนที่ใช้บริการได้บริโภคอาหาร
ื่
ที่สะอาด ปลอดภัยไม่มีสารเคมีอันตรายตกค้าง ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ
ปี พ.ศ 2560 กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทรับผิดชอบในเรื่อง
ั
การพฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ได้ร่วมกับ สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย
ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพและมีบทบาทในการดูแลพฒนาวิชาชีพสายงานโภชนาการ ได้ร่วมจัดทำ “คู่มือ
ั
การปฏิบัติงานโภชนาการในโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข” สำหรับนักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ
และโภชนากร เพอเป็นคู่มือการปฏิบัติงานโภชนาการที่เป็นแนวทางและได้มาตรฐานเดียวกัน มาตรฐานที่
ื่
7 ของคู่มือการปฏิบัติงานโภชนาการในโรงพยาบาล และคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกำหนดอาหาร
ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพสำหรับนักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ และโภชนากร ให้มีสมรรถนะ
ด้านโภชนบริการในการบริหารจัดการงานโภชนาการ (Food Service Management) โดยครอบคลุม
การบริการอาหารผู้ป่วย การเตรียมอาหารและการควบคุมการผลิตอาหาร การคำนวณและดัดแปลง
อาหาร การควบคุมงบประมาณค่าอาหาร ตลอดจนการกำกับและควบคุมความปลอดภัยในอาหารและ
สิ่งแวดล้อม
ดังนั้น กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข และ สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศ
ไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้ร่วมจัดทำคู่มือตำรับอาหารมาตรฐานสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่มี
ื้
ความสำคัญในการบริการอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาล เพอส่งเสริมการรักษาและทำให้ผู้ป่วยสามารถฟน
ื่
ตัวจากภาวะการเจ็บป่วย จึงได้รวบรวมตำรับอาหารโรงพยาบาล จำนวน 84 โรงพยาบาลในสังกัด