Page 12 - คู่มือตำรับอาหารมาตรฐานในโรงพยาบาล (new)
P. 12
3
กันตาม เพศ อายุ กิจกรรมที่ทำ โดยเพศชาย อายุ 19 – 60 ปี ควรได้รับพลังงาน 1,800 – 2,200 กิโล
แคลอรี่ต่อวัน และเพศหญิง อายุ 19 – 60 ปี ควรได้รับพลังงาน 1,500 – 1,800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน มี
สัดส่วนของสารอาหารที่พอเหมาะ คือ คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 45 - 60 ของพลังงาน โปรตีน ร้อยละ 15 –
ี
20 ของพลังงาน และไขมันไม่เกิน ร้อยละ 30 ของพลังงาน นอกจากนี้ควรมีปริมาณผัก 4 ทัพพต่อวัน
และปริมาณโซเดียม 2,000 – 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน
หลักการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้ปกติ
้
2. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวควรรับประทานข้าวกล้องหรือขาวซ้อมมือ
3. รับประทานพืช ผัก ผลไม้ เป็นประจำ เน้นผักและผลไม้หลากหลายสี
4. รับประทานปลา ไข่ และเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน สลับถั่วเมล็ดแห้งหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเป็นประจำ
5. ดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมให้เหมาะสมกับวัย
6. รับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำมันที่เหมาะสม
7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด และเค็มจัด
8. รับประทานอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
9. งดหรือเลี่ยงหลีกการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ตารางที่ 1.1 ชนิดและปริมาณอาหารที่คนไทยควรรับประทานใน 1 วัน
กลุ่มอาหาร หน่วย พลังงาน (กิโลแคลอรี่)
1,600 2,000 2,400
กลุ่มข้าว - แป้ง ทัพพี 8 10 12
กลุ่มผักต่างๆ ทัพพี 4 (6) 5 6
กลุ่มผลไม้ ส่วน 3 (4) 4 5
กลุ่มเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว ช้อนกินข้าว 6 9 12
กลุ่มนม แก้ว 2 (1) 1 1
กลุ่มน้ำมัน น้ำตาล เกลือ ช้อนชา กินแต่น้อยเท่าที่จำเป็น
กินอาหารแบบ 2 : 1 :1 คืออะไร
2 : 1 : 1 เป็นแนวคิดการกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมโดยการกะประมาณด้วยสายตาของ
ผู้บริโภคเอง โดยแบ่งสัดส่วนจานข้าว (ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 9 นิ้ว) ออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กันและ
แบ่งประเภทอาหารที่จะตักลงจานข้าว ประกอบด้วย ข้าว หรือผลิตภัณฑ์จากข้าว 1 ส่วน กับข้าวที่มี
เนื้อสัตว์ 1 ส่วน และผัก 2 ส่วน 1
1.4.2 อาหารในโรงพยาบาล หมายความถึง อาหารที่โรงพยาบาลทั่วไปจัดบริการให้แก่ผู้ป่วยที่
ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเฉพาะโรค ลักษณะของอาหารจะเหมือนอาหารคนปกติที่ไม่เจ็บป่วยทั่วๆ