Page 196 - แนวทางการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพ
P. 196
คู่มือแนวทางการอบรมหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.)
ใบความรู้ที่ ๖.๓
การดูแลสุขภาพช่องปาก
ความสำคัญของสุขภาพช่องปากต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต
๑. ปากคือประตูสู่สุขภาพ
ช่องปากเป็นด่านแรกของระบบทางเดินอาหารของร่างกาย หน้าที่สำคัญ คือ การเคี้ยว กัด และ
กลืนอาหาร จึงส่งผลต่อภาวะโภชนาการ รวมไปถึงการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หรืออีกนัยหนึ่ง
เรียกได้ว่า ปาก คือ ประตูสู่สุขภาพ นอกจากนี้อวัยวะในช่องปาก อันได้แก่ ฟัน เหงือก เพดาน กระพุ้งแก้ม ลิ้น ริมฝีปาก
ยังช่วยกันทำหน้าที่ในการพูด และทำให้ใบหน้าดูสวยงามอีกด้วย
๒. สุขภาพช่องปากส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต
ผลกระทบโดยตรงที่ชัดเจน ได้แก่
๑) การปวดฟัน เสียวฟัน มีผลต่อการฉันอาหาร การพักผ่อนนอนหลับ และการทำงาน
๒) ผู้ที่ไม่มีฟัน มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในการเคี้ยว การกัด การกลืนอาหาร ทำให้
การบดเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด อาหารไม่ย่อย ท้องอืดได้มากกว่าปกติ หรือฉันอาหารได้น้อยลง เลือกอาหารที่นิ่ม
เคี้ยวง่าย จำพวกแป้งและน้ำตาลซึ่งมีไขมันหรือคอเลสโตรอลสูง แต่คุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอ จึงขาด
สารอาหารทำให้น้ำหนักลด สุขภาพไม่แข็งแรง อาการเจ็บป่วยหายได้ช้าลง
๓) สุขภาพช่องปากส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งทางกาย จิตใจและสังคม เช่น ผู้ที่สูญเสียฟันบางส่วน
หรือทั้งปาก จะรู้สึกอาย ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม คนที่ใส่ฟันเทียมก็ไม่มั่นใจขณะพูดหรือยิ้มหรือเคี้ยว
อาหาร คนที่ปวดฟันก็จะหงุดหงิด โมโหง่าย มีผลต่อการสื่อสาร ภาพลักษณ์และความสวยงาม นอกจากนี้ เชื้อโรค
หรือการติดเชื้อต่างๆ จากในช่องปากยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น ที่ปอด หัวใจ ตา เป็นต้น
โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักจะสำลักง่าย หากสำลักเศษอาหารหรือเชื้อโรคจากในช่องปากเข้าไปอาจจะไปอุดกั้น
ระบบทางเดินหายใจ และอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปอดบวมได้
โรคและความผิดปกติในช่องปากที่พบบ่อย
๑. การตรวจและประเมินสุขภาพช่องปาก
สภาวะในช่องปากที่ควรหมั่นสังเกต ได้แก่ ตัวฟัน เหงือกและปริทันต์ เยื่อบุในช่องปากน้ำลาย
และต่อมน้ำลาย
๑) ตัวฟัน โดยปกติฟันจะยาวขึ้นเล็กน้อยจากการร่นของเหงือกและมีสีเข้มขึ้นเมื่อมีอายุ
เพิ่มมากขึ้น ซึ่งความผิดปกติและรอยโรคในตัวฟันที่พบบ่อย ได้แก่
ฟันผุ ลักษณะเป็นรอยดำ เป็นรูบริเวณตัวฟัน ตำแหน่งที่มักพบ คือ รากฟันผุ และ
ซอกฟัน
ฟันสึก ลักษณะเป็นรอยลึกสึกเข้าเนื้อฟัน มีอาการเสียวฟัน สารเคลือบฟันด้าน
นอกหลุดหายไป พบบริเวณด้านบดเคี้ยว ฟันกราม และคอฟันใกล้ขอบเหงือก
๑๒๐